ผลของ PCK ตาลต้านตึง Dance ต่อระดับความดันโลหิตและความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมในบุคลากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง, บุคลากร, ระดับความดันโลหิตบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิก และความดันโลหิตไดแอสโตลิกของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ณ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ปฏิบัติงานที่วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 ราย คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือทดลองเป็นโปรแกรม PCK ตาลต้านตึง Dance โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558 กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมโปรแกรมเป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยใช้ไม้ตาลต้านตึงมาช่วยในการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที และติดตามผล 6 สัปดาห์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าทีไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดแอสโตลิกหลังได้รับ PCK ตาลต้านตึง Dance มีค่าต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 (p<.05) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.89, SD.= .36) ดังนั้นควรนำการออกกำลังกาย PCK ตาลต้านตึง Dance ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพให้กับบุคลากรที่มีภาวะก่อนเป็นความดันโลหิตสูงเพื่อลดระดับความดันโลหิตเพื่อป้องกันเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่อไป
References
Bangalore, S., Gong, Y., Cooper-DeHoff, R. M., Pepine, C. J., Messerli, F. H. (2014). Eighth Joint National Committee Panel recommendation for blood pressure targets revisited: results from the INVEST study. J Am Coll Cardiol. 64, 784–793.
Bunmat, K., & Phatisena, T. (2018). Effects of an exercise program with rubber chain by applying self efficacy theory for blood pressure control among hypertension risky group. The National Graduate Research Conference, 34, 760-770. (in Thai)
Chobanian, A. V., Bakris, G. L., Black, H. R., Cushman, W. C., Green, L. A., Izzo Jr, J. L., et al. and the National High Blood Pressure Education Program Coordinating Committee. (2003). Seventh Report of the Joint National Committee on prevention, detection, evaluation, and treatment of high blood pressure. Hypertension.42, 1206-1252.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.
Health information center phetchaburi provincial public health office. (2021). Statistic report on NCDs, 2021. Phetchaburi. (in Thai)
Janvitaya, U. (2011). Effects of exercise with stick (Boonmi Kruarat) to blood pressure level of clients with risk of hypertension. Sappasithiprasong Hospital, Ubonrachathani. 29(2), 43-44. (in Thai)
Kanchanapiboonwong, A., Komwongsanga, P., & Kaewta, S. (2020). Situation report on NCDs, diabetes, hypertension, and relative risk factors, 2019. Bangkok: Graphic and design publishing house. (in Thai)
Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K., & World Health Organization. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Wiley.
Neuman, B. (2002). The Neuman Systems Model. In B.Neuman & J. Facett (Eds.), The Neuman Systems Model (4thed., pp. 3-33). New Jersey, NJ: Pearson education.
Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi province. (2020). Annual health check-up report, 2020. Phetchaburi. (in Thai)
Prasertthai, P., Suwanno, J., & Sonpaweeravong, J. (2017). Effect of a home-based moderate intensity exercise on the reduction of blood pressure in persons with prehypertension. Thai Journal of Nursing Council. 25(4), 80-95. (in Thai)
Sangmanee, R. (2017). Using local wisdom with self-care behavior of hypertension patients in the three southern border provinces. Princess of Naradhiwas University Journal. 9(2), 1- 13. (in Thai)
Sinsap, N, & Choowattanapakon, T. (2016).The Effect of educational and Tangwai exercise on blood pressure of older persons with hypertension. Kunkarun Journal of Nursing. 23(1), 73-78. (in Thai)
Sirited, P., Jitpornkulwasin, R., Phadungyam, M., Sinthusuwan, J., & Thongphet, S. (2020). The wooden massage roller: Healthy innovation from palmyra palm for elderly people with a muscle pain. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 21(1), 1-8. (in Thai)
Sriraksa, C., Nakmareong, S., Yonglitthipagon, P., Siritaratiwat, W., Sawanyawisuth, K., & Janyacharoen, T. (2018). Effects of Isaan dance on physical performance in elderly Thais: A pilot study. Chula Med J. 62(2), 211- 222. (in Thai)
Songwatthanayuth, P., Watthanakorn, K., Klainhom, K., & Ratanapak, P. (2016). Development of health behavior promotion program among pre-hypertension adults in Nong-Plub, Phetchaburi province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 32(2),
-118. (in Thai)
Thai Hypertension Society. (2019). 2019 Thai guidelines on the treatment of hypertension.Chiang Mai: Trick Think. (in Thai)
World Health Organization. (2015). Hypertension. Retrieved April 19, 2018, from http://www.Who.int/health topics/hypertension.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว