ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ความแข็งแกร่งในชีวิต และภาวะซึมเศร้า ในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เรียม นมรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • วริยา จันทร์ขำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • หทัยชนก บัวเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต, ความแข็งแกร่งในชีวิต, ภาวะซึมเศร้า, นักศึกษามหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional Study Design) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 684 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และ แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน      

ผลการศึกษา พบว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.23 มีภาวะซึมเศร้า และกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตโดยรวม อยู่ในระดับต่ำ (Mean = 1.11, S.D. = 0.38) มีความแข็งแกร่งในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 2.61, S.D. = 0.49) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ความแข็งแกร่งในชีวิตของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.33, p-value < 0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.14, p-value < 0.001) และความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับต่ำกับความแข็งแกร่งในชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.08, p-value < 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนออกแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและจัดกิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566 จาก https://thaidepression.com/www/58/guidebookdepress.pdf.

กรมสุขภาพจิต. (2565a). ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566 จาก https://checkin.dmh.go.th/dashboard/dash01.php.

กรมสุขภาพจิต. (2565b). ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตในสังคมไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2567 จาก http://www.somethingmendis.or.th/mentalhealth.

กรรณิการ์ กาญจนสุวรรณ์, ชนัญญา จิระพรกุล และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2563). ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาสาขาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาหนึ่งของประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(4), 343-354.

กาญจนา สุุทธิเนียม และอุุบล สุุทธิเนียม. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่่อภาวะซึมเศร้าของนัักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(3), 43-61.

เกวลี ชัยสุวรรณรักษ์ และพลิศรา ธรรมโชติ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่มีประสบการณ์ข่มเหงรังแกบนโลกไซเบอร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(2), 191-204.

ณัฏฐภัณฑ์สัณฑ์ ศรีวิชัย, วราภรณ์ บุญเชียง และพิมพ์ชนก เครือสุคนธ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพจิต ความผาสุกทางจิตใจ และความเหงาในนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มนุษยศาสตร์สาร, 22(1), 143-161.

นันทยา คงประพันธ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นกรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 302-315.

นุสรา นามเดช, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ และอรทัย สงวนพรรค. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสระบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 125-138.

ปวีณา นพโสตร, อัจรา ฐิตวัฒนกุล และนิรดา กลิ่นทอง. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 1-10.

ปาริชาติ เมืองขวา, กมลนัทธ์ คล่องดี และสุรชัย เฉนียง. (2563). ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาไทย: บทบาทที่สำคัญสำหรับสถาบันการศึกษา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 21(41), 104-116.

ปิยะ ทองบาง. (2562). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(1), 28-36.

โปรยทิพย์ ศิริญพร บุศหงส์ และเชาวลิต ศรีเสริม. (2562). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: บทบาทพยาบาล. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 187-199.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

รัตนาภรณ์ ชูทอง และคณะ. (2562). "ภาวะสุขภาพจิต สภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ภาคใต้ของประเทศไทย." วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 64(4), 337-350.

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, พิมพ์วลัญช์ อายุวัฒน์ และปรานต์ศศิ เหล่ารัตน์ศรี. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลโนนสูงอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 2(2), 35-42.

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, รัตติกร เหมือนนาดอน และสุมัทณา แก้วมา. (2563). ภาวะซึมเศร้า และความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่น. วารสารการสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 41-51.

วัชราพร เชยสุวรรณ และคณะ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 255-266.

สมดี อนันต์ปฏิเวธ, นันนภัส แววกระโทก และสุกัญญา แก่นงูเหลือม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนกับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 4(3), 1-16.

สุหทัย โตสังวาลย์. (2564).การเห็นคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(1), 58-74.

โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และจุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นด้อยโอกาสไทยในจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(2), 13-38.

Almanasef, M. (2021). Mental Health Literacy and Help-seeking behaviours among undergraduate pharmacy students in Abha, Saudi Arabia. Risk Management and Healthcare Policy, 14, 1281-1286. https://doi.org/10.2147/RMHP.S289211

Ashraful Islam, M., Yun Low, W., Ting Tong, W., Wan Yuen, C. C., & Abdullah, A. (2018). Factors associated with depression among university students in Malaysia: A cross-sectional study. KnE Life Sciences, 4, 415. https://doi.org/10.18502/kls.v4i4.2302

Attygalle, U. R., Perera, H., & Jayamanne, B. D. W. (2017). Mental health literacy in adolescents: Ability to recognise problems, helpful interventions and outcomes. Child and Adolescent Psychiatry and Mental Health, 11(1), 38. https://doi.org/10.1186/s13034-017-0176-1

Coles, M. E., Ravid, A., Gibb, B., George-Denn, D., Bronstein, L. R., & McLeod, S. (2016). Adolescent mental health literacy: Young people's knowledge of depression and social anxiety disorder. Journal of Adolescent Health, 58(1), 57-62. https://doi.org/10.1016/j.jadohealth.2015.09.017

Dias, P., Campos, L., Almeida, H., & Palha, F. (2018). Mental health literacy in young adults: Adaptation and psychometric properties of the mental health literacy questionnaire. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15(7). 1318. https://doi.org/10.3390/ijerph15071318

Hart, L. M., Morgan A. J., Rossetto A., Kelly C.M., Mackinnon A., & Jorm A.F. (2018). Helping adolescents to better support their peers with a mental health problem: A cluster-randomised crossover trial of teen mental health first aid. Australian & New Zealand Journal of Psychiatry, 52(7), 638-651. https://doi.org/10.1177/0004867417753552

Grotberg, E. H. (1995). Resilience for Tomorrow, Retrieved February 19, 2014 Retrieved March 4, 2023 from http://resilent.uluc.edu/library/grotberg2005_resilience-for-tommorrowbrazil.pdf.

Tay, J. L., Tay, Y. F., & Klainin-Yobas, P. (2018). Mental health literacy levels. Archives of Psychiatric Nursing, 32(5), 757-763. https://doi.org/10.1016/j.apnu.2018.04.007

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.

World Health Organization. (2020). Depression and other common mental disorders: Global health estimates. Geneva: WHO Document Production Services.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-15