ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน เจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก

ผู้แต่ง

  • รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จิราจันทร์ คณฑา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นิตยา ศรีแจ่ม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • รุ่งนภา ศักดิ์ตระกูล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ความรู้, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, เจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, มารดาหลังคลอดครรภ์แรก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและเจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก ณ แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ มารดาหลังคลอดครรภ์แรก จำนวน 90 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน เจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83, 0.79, 0.74 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า มารดาหลังคลอดครรภ์แรกมีความรู้อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 25.55 ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 61.11 และระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 13.34 การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับดี (Mean = 4.07, S.D. = 0.15) เจตคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับดี (Mean = 3.98, S.D. = 0.56) พฤติกรรมการเลี้ยงลูก  ด้วยนมแม่อยู่ในระดับดี (Mean = 4.03, S.D. = 0.12) และ พบว่าความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และเจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.299, 0.285 และ 0.226 ตามลำดับ) ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลจึงควรจัดกิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดครรภ์แรกให้มีความรู้ เกิดเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และมีการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะทำให้มารดาประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป

References

กรมอนามัย. (2552). แผนยุทธศาสตร์ กรมอนามัย พ.ศ.2553-2556. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

เจตพล แสงกล้า. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว กรณีศึกษาในเขตกึ่งเมือง กึ่งชนบทจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยประชากรและสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 161-171.

ภัทรพร ชูประพันธ์, วีณา เที่ยงธรรม และปาหนัน พิชยภิญโญ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของแม่ในเขตภาคกลางตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

มยุรา เรืองเสรี และวราทิพย์ แก่นการ (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 195-204.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ และสาลี่ แซ่เบ๊. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเองความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองและเจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 10-21.

ลักขณา ไชยนอก. (2558). รายงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น หลังคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศิริวรรณ แสงอินทร์, ณิชากร ชื่นอารมณ์ และรุจิรา เฉิดฉิ้ม. (2563). ปัจจัยทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 38(3), 22-34.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. (2559). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยพ.ศ. 2558-2559,รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. (2566). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยพ.ศ. 2565, รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศไทย. (2563). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยพ.ศ. 2562, รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.

สุภาพันธ์ จันทร์ศิริ, วรรณา พาหุวัฒนกร และฉวีวรรณ อยู่สำราญ. (2560). อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์, 35(4), 49-60.

สุวรรณา ชนะภัย, นิตยา สินสุกใส, นันทนา ธนาโนวรรณ และวรรณา พาหุวัฒนกร. (2557). ความรู้ทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะในตนเอง และการสนับสนุนจากสามีและพยาบาล ในการทํานายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(1), 51-60.

Awaliyah, S.N., Rachmawati, I.N. & Rahmah, H. (2019). Breastfeeding self-efficacy as a dominant factor affecting maternal breastfeeding satisfaction. BMC Nursing, 18(1), 30. https://doi.org/10.1186/s12912-019-0359-6

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84, 191-215.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191. doi: 10.3758/bf03193146

Hamze, L., Mao, J., Reifsnider, E. (2019). Knowledge and attitudes towards breastfeeding practices: a cross-sectional survey of postnatal mothers in China. Midwifery, 74, 68-75.

Hinic, K. (2016). Predictors of breastfeeding confidence in the early postpartum period. Journal of Obstetric, Gynecologic & Neonatal Nursing, 45(5), 649-660.

Kronborg, H., Harder, I., & Hall, E. O. (2015). First time mothers' experiences of breastfeeding their newborn. Sexual & Reproductive Healthcare: Official Journal of the Swedish Association of Midwives, 6(2), 82–87. https://doi.org/10.1016/j.srhc.2014.08.004

Lyons, K. E., Ryan, C. A., Dempsey, E. M., Ross, R. P., & Stanton, C. (2020). Breast Milk, a Source of Beneficial Microbes and Associated Benefits for Infant Health. Nutrients, 12(4), 1039. https://doi.org/10.3390/nu12041039

Madhvi, S., Logeshwari, B. M., & Shubhavee, R. (2020). Comparison of Breastfeeding Practices between Primigravida and Multigravida. International Journal of Science and Research, 9(12), 563-565. doi: 10.21275/SR201202085454

Maleki-Saghooni, N., Barez, M. A., Moeindarbari, S., & Karimi, F. Z. (2017). Investigating the breastfeeding self-efficacy and its related factors in primiparous breastfeeding mothers. International Journal of Pediatrics, 5(12), 6275-6283.

Palaska, E., Lykeridou, A., Zyga, S., & Panoutsopoulos, G. (2020). Association Between Breastfeeding and Obesity in Preschool Children. Materia Socio-Medica, 32(2), 117–122. https://doi.org/10.5455/msm.2020.32.117-122

Rattasumpun, S. & Keawma, B. (2018). Factors Predicting Successfulness in Exclusive Breastfeeding among Working Mothers. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences, 38(4), 14–24.

World Health Organization. (2021). Breastfeeding. Retrieved April 10, 2023 from http://www.who.int/ topics /breastfeeding/en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-24

How to Cite

วิบูลย์วัฒนกิจ ร. ., คณฑา จ., ศรีแจ่ม น. ., & ศักดิ์ตระกูล ร. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน เจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 3(3), 95–109. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/262619