ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, การควบคุมระดับความดันโลหิต, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองตามแนวคิดของ (Kanfer and Gaelick-Buys, 1991) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.741 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon Sign Rank Test ผลการวิจัยพบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต (= 2.77, SD = 0.13) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (
= 2.51, SD = 0.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -4.155, p-value < 0.001) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับความดันโลหิตในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อลดความรุนแรงจากโรคความดันโลหิตสูงและคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559).รายงานประจำปี 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/.pdf.
ธาริณี พังจุนันท์ และ นิตยา พันธุเวทย์. (2558) ประเด็นสารรณรงค์วัน ความดันโลหิตสูงโลก 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
เบญจมาศ ถาดแสง, ดวงฤดี ลาศุขะ, และทศพร คำผลศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 39(4), 124-137.
ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดสงขลา. (2562). รายงานจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับบริการ. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://chronic.skho. moph.go.th/chronic/rep/htptvisit.php.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). กลุ่มรายงานมาตรฐาน. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/Index pk.php.
ศิริวัฒน์ วงศ์พุทธคำ. (2551). ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพร เจือจันทึก. (2552). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค ความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2562). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคความดันโลหิตสูง พ.ศ. 2556-2560 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincdiof.com//information-statistic/non-communicable-disease- data.php.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). ประเด็นสารรณรงค์ วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.thai ncd.com/document/file/info/non-communi cable-disease/.pdf.
Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self-management methods. In F. Kanfer & A. Goldtein (Eds.), Helping people change: A text book of methods. (4th ed.). New York: Pergamonpress.
Medical Research Network of the Consortium of Thai Medical Schools. (2014). Summary of evaluation of care for patients with diabetes and hypertension 2010-2015. Retrieved from https://dmht.thaimedresnet.org/document/NHSO_DMHT_2561_OnTour1_REGIONS_7_8.pdf.
Orem, D. E.(1995). Nursing: Concept of practice (5th ed). St. Louis, MO: Mosby Year Book.
Phangjunan, T., & Phanthawet, N. (2015). Campaign issues for World Hypertension Day 2015. Retrieved from http://www.thaincd.com/media/leaflet/non-communicable-disease.php.
World Health Organization. (2015). Q & As on hypertension. Retrieved July 1, 2016. from http://www.who.int/features/qa/82/en/.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข