ประสิทธิผลของรูปแบบ Fracture Liaison Service ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกรอบสะโพกหัก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเขียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ส่องศรี หล้าป่าซาง โรงพยาบาลนครพิงค์
  • ณิชกานต์ ไชยรังษี โรงพยาบาลนครพิงค์
  • ศิริพจน์ ศรีบัณฑิตกุล โรงพยาบาลนครพิงค์
  • วรพจน์ ปลื้มฤดี โรงพยาบาลนครพิงค์

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, รูปแบบ Fracture Liaison Service, กระดูกรอบสะโพกหัก, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ Fracture Liaison Service (FLS) ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกรอบสะโพกหัก แผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเพศชายและหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยกระดูกรอบสะโพกหัก ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ.2563 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) รูปแบบ FLS ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกรอบสะโพกหักที่พัฒนามาจากสถาบันโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ปีค.ศ.2012 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป 3) แบบบันทึกข้อมูลทางคลินิก ได้แก่ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล ภาวะปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อัตราการหักซ้ำ และอัตราการเสียชีวิต 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบ FLS ของทีมบุคลากรสุขภาพ งานวิจัยนี้มีการติดตามประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง อัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อัตราการหักซ้ำ อัตราการเสียชีวิต และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ภายหลังระยะเวลา 1 ปี เทียบตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ และร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุกระดูกรอบสะโพกหัก ที่เข้ารับการดูแลรักษาโดยรูปแบบ FLS มีจำนวน 411 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 58.64 อายุเฉลี่ย 78.01 ปี ได้รับการวินิจฉัยโรค Intertrochanteric Fracture of Femur ร้อยละ 75.91 สาเหตุกระดูกหักจากการลื่น หกล้ม ร้อยละ 85.16 หลังจากใช้รูปแบบ FLS ในการดูแลรักษาผู้ป่วย 1 ปี พบว่า มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 53.93  จำนวนวันนอนโรงพยาบาล เฉลี่ย 11.43 วัน ค่าใช้จ่าย 75,424.74 บาท ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 0.68 แผลกดทับ ร้อยละ 0.90 ปอดอักเสบ ร้อยละ 0.23 อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 6.61 และไม่มีอุบัติการณ์กระดูกการหักซ้ำ ความพึงพอใจโดยรวมของทีมบุคลากรสุขภาพที่ใช้รูปแบบ FLS อยู่ในระดับมาก  ซึ่งผลลัพธ์สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายตัวชี้วัดจากกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นการใช้รูปแบบ FLS ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกรอบสะโพกหัก ทำให้เกิดประสิทธิผลต่อการรักษาและป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำของผู้ป่วยสูงอายุได้

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). โครงสร้างประชากรไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบใน พ.ศ. 2564. Retired from http://www.dop.go.th/th.

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) 5 หลัก. Retrieved from http://203.157.212.7/uthkpi62/document/103.pdf.

งานสารสนเทศ. (2561). สถิติจำนวนผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก.โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.

จิตติมา เอกวิโรจนสกุล. (2562). การป้องกันกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหักใน โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่17 สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลเขต 4-5, 38 (1), 39-49.

นงนุช ประทุม. (2563).การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีภาวะโรคร่วมความดันโลหิตสูง :กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 76-90.

ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์. (2019). ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์รณรงค์ให้รู้จักป้องกัน กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน [อินเตอร์เน็ต]. Retrieved January 2, 2021, from https://www.hfocus.org/content/2019/10/17969.

สัตยา โรจนเสถียร และ ทวี ทรงพัฒนาศิลป์. (2560). คำแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคกระดูกพรุน. มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการการผ่าตัดกระดูกข้อ สะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกข้อสะโพกหัก(รพ นำร่อง). เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกข้อสะโพกหักแก่โรงพยาบาลนำร่อง วันที่ 6 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ 8-10 อิมแพ็คเมืองทองธานี.

สุวิมล แคล่วคล่อง, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล,และ ก้องเขต เหรียญสุวรรณ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโรคร่วม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการกำมือ และความวิตกกังวลกับการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักภายหลังผ่าตัด. วารสารสภาการพยาบาล, 29(2), 36-49.

ศุภมาส ลิ่วศิริรัตน์, พาชิน ถนอมสิงห์. (2553). อัตราการตายและสภาพการเดินของผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักผ่านบริเวณ intertrochanter ซึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, 34 (3-4), 6-11.

ศุภฤทธิ์ เฮงคราวิทยา.(2559). โปรแกรมป้องกันกระดูกสะโพกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหัก. วารสารแพทย์เขต 4-5,35 (4), 259-265.

Akesson, K., Marsh, D., Mitchell, P. J., McLellan, A. R., Stenmark, J., Pierroz, D. D., Kyer, C., Cooper, C., & IOF Fracture Working Group (2013). Capture the Fracture: a Best Practice Framework and global campaign to break the fragility fracture. cycle. Osteoporosis international: A journal established as result of cooperation between the European Foundation for Osteoporosis and the National Osteoporosis Foundation of the USA, 24(8), 2135–2152. https://doi.org/10.1007/s00198-013-2348-z.

Amphansap, T., Stitkitti, N., & Dumrongwanich, P. (2016). Evaluation of Police General Hospital's Fracture Liaison Service (PGH's FLS): The first study of a Fracture Liaison Service in Thailand. Osteoporosis and Sarcopenia, 2(4), 238–243. https://doi.org/10.1016/j.afos.2016.09.002.

International Osteoporosis Foundation. (2012). Best Practice Framework. Retrieved September 8, 20, from http://www.capturethefracture.org.

Klotzbach-Shimomura, Kathleen. (2001). Project Healthy Bones: An Osteoporosis Prevention Program for Older Adults. Journal of Extension, 39(3), 1-196.

Soukup, S, M. (2000). The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: Promoting the scholarship of practice. Nursing Clinics of North America, 35(2), 301-309.

Wongtriratanachai P,luevitoonvechkij S,Songpatanasilp.T, and Rojanastien.,S. (2013). Increasing incidence of hip fracture in Chiang Mai,Thailand. Journal of Clinical Densitometry, 16(3), 347-52.

United Nations. (2017). World population prospects: The 2017 revision. Retrieved from https://esa.un.org/unpd/wpp/Publications/Files/ WPP2017_KeyFindings.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-27

How to Cite

หล้าป่าซาง ส., ไชยรังษี ณ. ., ศรีบัณฑิตกุล ศ. ., & ปลื้มฤดี ว. . (2021). ประสิทธิผลของรูปแบบ Fracture Liaison Service ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกรอบสะโพกหัก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเขียงใหม่. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(1), 40–54. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/250274