พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ป่วยและพยาบาล ด้านศัลยกรรม โรงพยาบาลบางละมุง

ผู้แต่ง

  • อโณทัย ผาสุข โรงพยาบาลบางละมุง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร, พยาบาล, งานด้านศัลยกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือและวัดพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลตามการรับรู้ของตนเองและผู้ป่วย และเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาล ตามการรับรู้ของตนเองและผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 266 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 209 ราย (78.6%) และพยาบาลหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัด จำนวน 57 ราย (21.4%) โรงพยาบาลบางละมุง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2562 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกและแบบสอบถามพฤติกรรมเอื้ออาทรของพยาบาลจำนวน 48 ข้อ (5 องค์ประกอบ) ตามทฤษฎีของสแวนสัน ซึ่งมีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้คือ ความถี่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ Independent T-Test

ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบของเครื่องมือ มีค่าสถิติไคเซอร์-เมเยอร์-ออลคิน (KMO) เท่ากับ 0.60 ทำการสกัดพบว่ามี 3 องค์ประกอบหลัก มีค่าไอแกนมากกว่า 1 ความแปรปรวนสะสมทั้ง 3 องค์ประกอบ เท่ากับ 55.18% องค์ประกอบที่ได้ คือ องค์ประกอบที่ 1 การช่วยเหลือทำกิจกรรมต่างๆ มีจำนวน 14 ข้อ องค์ประกอบที่ 2 การสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความสามารถดูแลตนเอง มีจำนวน 5 ข้อ องค์ประกอบที่ 3 การดำรงไว้ซึ่งความเชื่อและศรัทธาของผู้ป่วย มีจำนวน 6 ข้อ พบค่าเฉลี่ยการรับรู้พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรทั้ง 2 กลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยกลุ่มพยาบาลเท่ากับ 65.842 (SD=7.54) ค่าเฉลี่ยกลุ่มผู้ป่วย 63.349 (SD=10.37) ซึ่งค่าเฉลี่ยทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 องค์ประกอบนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล และพัฒนาพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น

References

กุสุมา ปิยะศิริภัณฑ์. (2545). พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

นิตยา จันทบุตร, อมรรัตน์ ถิ่นขาม, ปฑิตตา สิมานุรักษ์ และอรัญญิการ์ สระบงกช. (2559). การพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1“สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

บุญหนัก ศรีเกษม. (2551). ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลต่อจำนวนวันนอนของผู้ป่วยศัลยกรรมและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลราชวิถี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

มณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิ, ศจีมาจ ณ วิเชียร และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะนักเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลําดับที่สอง. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(12), 1-7.

วรวุฒิ เจริญศิริ, ใน ปรัศนียาภรณ์ ฤกษดายุทธ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของพยาบาลห้องผ่าตัด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัลลภา บุญรอด. (2563). รายงานการวิจัยการพัฒนาเครื่องมือประเมินและการศึกษาพฤติกรรมการสอนแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สาขาวิชาการจัดการทางการพยาบาล สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์. นครราชสีมา: ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีปีงบประมาณ 2558.

ชุติมา สืบวงศ์ลี. (2553). การพัฒนาเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงปัญญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

อังคณา ธัญวัฒน์สวัสด์. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบริการของพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคตะวันออกประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อัญชุลี ไชยวงศ์น้อย. (2557). ผลของการดูแลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันต่อการทำกิจวัตรประจำวันและความผาสุกของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Kumar, A., Dubey, P. K., & Ranjan, A. (2019). Assessment of Anxiety in Surgical Patients: An Observational Study. Anesthesia, essays and researches, 13(3), 503–508.

Swanson, K. M. (1991). "Empirical development of a middle range theory of caring." Nursing Research, 40(3), 161-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-27

How to Cite

ผาสุข อ. (2021). พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ป่วยและพยาบาล ด้านศัลยกรรม โรงพยาบาลบางละมุง. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(2), 29–41. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/251272