ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ชัชชษา เพ็งเกร็ด โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว, พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์รักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 30 คน ที่มารับบริการที่คลินิกจิตเวช แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง ตุลาคม 2564 โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาจากพัฒนามาจากแนวคิดสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวของ Anderson et al. (1980) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired Sample T-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท ( gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}=4.66, SD=0.84) ดีขึ้นกว่าก่อนการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ( gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 1.53, SD= 0.13) (p-value <0.001) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ที่เหมาะสม  พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆสามารถนำโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวไปปรับใช้ เพื่อลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

References

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต. (2564). รายงานสถิติประจำปีโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต, 9-10.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญญาภา พันตาคม. (2554). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้ครอบครัวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปทานนท์ ขวัญสนิท และมานิต ศรีสุรภานนท์. (2561). ตัววัดทางระบาดวิทยาเพื่อคํานวณภาระโรคจิตเภทในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(1), 50-62.

เพชรี คันธสายบัว. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำและไม่ป่วยซ้ำ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวินี ธนบดีธรรมจารี และบุญเยี่ยม เต็มราษี.(2561). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเจ็บป่วยและความเชื่อการกินยาต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการกินยาของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(3), 133–153.

สมภพ เรืองตระกูล. (2556). ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว.

สรินทร เชี่ยวโสธร. (2545). การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อินทุกานต์ สุวรรณ์. (2563). ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, 34(1), 152-162.

Acosta, F. J., Hernández, J. L., Pereira, J., Herrera,J., & Rodríguez, C.J. (2012). Medication adherence in schizophrenia. World Journal Psychiatry, 2(5), 74-82.

Anderson CM, Hogarty GE,Reiss. (1980). DJ.Family treatment of adult schizophrenic patients: Apsychoeducation approach. Schizophrenic Bulletin, 6(3), 490-505.

Bond, K., & Anderson, I. M. (2015). Psychoeducation for relapse prevention in bipolar disorder: A systematic review of efficacy in randomized controlled trials. Bipolar Disorders, 17(4), 349–362.

Cai, J., Zhu, Y., Zhang, W., Wang, Y., & Zhang, C. (2015). Comprehensive family therapy: An effective approach for cognitive rehabilitation in schizophrenia. Neuropsychiatric Disease and Treatment, 11, 1247–1253.

Deutsch, S. I., & Burket, J. A. (2021). Psychotropic medication use for adults and older adults with intellectual disability; selective review, recommendations and future directions. Progress in Neuro-Psychopharmacology & Biological Psychiatry, 104, 110017.

Di Giovanni, P., Di Martino, G., Zecca, I., Porfilio, I., Romano, F., & Staniscia, T. (2020). The revolving door phenomenon: Psychiatric hospitalization and risk of readmission among drug-addicted patients. La Clinica Terapeutica, 171(5), e421–e424.

Ebtsam, H. S., Nefissa, M. A. K., Nadia, E.S., & Amany, A. M. (2018). Effect of Psycho educational Program on Improving of Medication Adherence among Schizo-phrenic Patients. Journal of Nursing and Health Science, 7(6), 69-79.

Bhola, P., Basavarajappa, C., Guruprasad, D., Hegde, G., Khanam, F., Thirthalli, J., & Chaturvedi, S. K. (2016). Development of a Social Skills Assessment Screening Scale for Psychiatric Rehabilitation Settings: A Pilot Study. Indian journal of psychological medicine, 38(5), 395–403.

Higashi, K., Medic, G., Littlewood, K.J., Diez, T., Granstrom, O., & Hert, M.D. (2013). Medication adherence in schizophrenia: Factors influencing adherence and conse-quences of nonadherence: A systematic literature review. Therapeutic Advances in Psychopharmacology, 3(4), 200-218.

Madhusoodanan, S., Xu, B., Prayaga, S., Slowik, P., Brenner, R., Thomas, W., & Schwartz, N. (2016). Psychotropic drug changes contributing to readmissions in medically hospitalized psychiatric patients: A retrospective study. Annals of Clinical Psychiatry: Official Journal of the American Academy of Clinical Psychiatrists, 28(4), 239–244.

Mirsepassi, Z., Tabatabaee, M., Sharifi, V., & Mottaghipour, Y. (2018). Patient and family psychoeducation: Service development and implementation in a center in Iran. The International Journal of Social Psychiatry, 64(1), 73–79. https://doi.org/10.1177/0020764017747910.

Shao, W. C., Chen, H., Chang, Y.F, Lin, & Ching-Lan Ling, E. (2013). The relation-ship between medication adherence and rehospitalization: A prospective study of schizophrenia patients discharge from psychiatric acute wards. Schizophrenia and Medication Adherence, 60(5), 31-40.

Ucok, A., & Kara, I. A. (2019). Relapse rates following antipsychotic discontinuation in themaintenance phase after first-episode of schizophrenia: Results of a long-term follow-up study. schizophrenia: Results of a long-term follow-up study. Schizophr Res. doi:10.1016/j.schres.2019.10.015.

World Health Organization (WHO). (2016). The ICD-10 classification of mental and behavior disorders. Geneva: n.p.

World Health Organization. (2019). Schizophrenia. Retrieved January 03, 2017, from http://www.who.int/mental_health/management/schizophrenia/en/.

Zisman-Ilani, Y., Shern, D., Deegan, P., Kreyenbuhl, J., Dixon, L., Drake, R., Torrey, W., Mishra, M., Gorbenko, K., & Elwyn, G. (2018). Continue, adjust, or stop antipsychotic medication: Developing and user testing an encounter decision aid for people with first-episode and long-term psychosis. BMC Psychiatry, 18(1), 142.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-27

How to Cite

เพ็งเกร็ด ช. . (2021). ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(3), 1–16. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/254285