ประสิทธิผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย

ผู้แต่ง

  • ปทุมทิพย์ ปิ่นหย่า โรงพยาบาลเชียงคำ

คำสำคัญ:

การให้ความรู้อย่างมีแบบแผนการ, ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง, เด็กวัยเรียน, โรคธาลัสซีเมีย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ก่อนและหลังให้ความรู้อย่างมีแบบแผน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียที่มารับบริการในคลินิกโรคเลือดและในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม 2565 จำนวนทั้งหมด 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย และแผนการสอนกับสื่อนำเสนอ ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาเท่ากับ 1 และ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาซ เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย 3 ด้าน คือ การดูแลตนเองที่จำเป็นโดยทั่วไป การดูแลตามระยะพัฒนาการและการดูแลตนเองที่จำเป็นในภาวะเบี่ยงเบนสุขภาพ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Paired t-test

ผลการศึกษาพบว่า เด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ภายหลังได้รับความรู้อย่างมีแบบแผนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองโดยรวมสูงกว่าก่อนการเสริมความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองตนเองโดยรวมของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียสูงกว่าก่อนการได้รับความรู้อย่างมีแบบแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยนี้ควรใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียโรคทางพันธุกรรมที่น่าเป็นห่วงในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/116500.

ดิษพงศ์ วงศ์อร่าม. (2555). สื่อวิดิทัศน์ให้ความรู้เรื่องการรักษาโรค Thaiassemia เรื่อง The Thalassemia. ผลิตโดย: Dogfilm ร่วมผลิตแอนิเมชั่นให้กับ vitamin-b บรอดคาซท์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565 จาก https://youtu.be/5-PC-EM3tK0.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูษณิศา มาพิลูน, ปรีย์กมล รัชนกุล และวาริยา หมื่นสง. (2559). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียและความสามารถในการดูแลเด็กของผู้ดูแลต่อพฤติกรรม ดูแลตนเองของเด็ก. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 52-68.

มรกต สิทธิขันแก้ว, นงลักษณ์ จินตนาดิลก, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, อทิตยา พรชัยเกตุ และโอว ยอง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สิ่งก่อความเครียดและอาการซึมเศร้าในวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย วารสาร พยาบาลศาสตร์, 30(3), 25-35.

วรวุฒิ แสงทอง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และวิจิตร แผ่นทอง. (2563). ผลของระบบสนับสนุนและให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), 39-50.

เวียงพิงค์ ทวีพูน. (2563). พัฒนาการเด็กวัยเรียน. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565 จาก http://blog.bru.ac.th/wp-.

ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล และพจนารถ สารพัด. (2563). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(3), 146-57.

สิทธิพงศ์ ปาปะกัง และชลิดา ธนัฐธีรกุล. (2562). ผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ ด้วยสมุดภาพการ์ตูน กิจกรรมการเล่น และการเยี่ยมบ้าน ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 42(4), 40-50.

สุกัญญา ฆารสิทธ์, ณัฏฐพล นนทิบุตรธีรชัย, ก้านจิต ศรีนนท์, นงค์นุช หวายแก้ว และกฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. (2564). ประสิทธิผลของสื่อวีดีโอต่อคะแนนความรู้ของผู้ดูแลสุขภาพเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(2), 283-294.

อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, ปวีณา จึงสมประสงค์, ชดชนก วิจารสรณ์, วิภารัตน์ สุขทองสา, นวลจันทร์ อุดมพงศ์-ลักขณา และชญานี จตุรชัยเดช. (2557). การเปรียบเทียบผลการให้ความรู้ด้วยสื่อวีดิทัศน์กับภาพพลิกต่อความรู้และความวิตกกังวลของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการสวนหัวใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(2), 41-51.

Angastiniotis, M. & Lobitz, S. (2019). Thalassemias: An Overview. International Journal of Neonatal Screening, 5(1), 16.

Baghersalimi, A., et al. (2021). Evaluation of self-efficacy in children and adolescents with thalassemia major. Journal of Pediatric Hematology/ Oncology, 43(6), e754–e758.

Bajwa, H. & Basit, H. (2022). Thalassemia. United States: StatPearls Publishing.

Cohen, J. (1977). Statistical power analyses for the behavioral sciences. Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum.

Orem, D. E. (2001). Nursing: Concepts of practice. 5th Edition. Mosby-Yearbook, Inc., St. Louis.

Tarım, H. S. & Öz, F. (2022). Thalassemia Major and Associated Psychosocial Problems: A Narrative Review. Iranian Journal of Public Health, 51(1), 12–18.

Van Hoozer, H. L., et al. (1987). The Teaching Process: Theory and Practice in Nursing. Norwalk, CT: Appleton-Century-Crofts.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-18