ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะที่ 3A ถึง ระยะที่ 4 ต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และอัตราการกรองของไต โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • กศิมา สง่ารัตนพิมาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
  • คมสันต์ อาษา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
  • รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, ความรู้, พฤติกรรม, ชะลอความเสื่อมของไต, ผู้ป่วยไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3A ถึง ระยะที่ 4 ต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และอัตราการกรองของไต ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คลินิกโรคไต โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3A ถึงระยะที่ 4 จำนวน 66 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่ม ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความรู้ทางสุขภาพ 2) การพัฒนาการจัดการตนเองเพื่อชะลอความเสื่อมของไต และ 3) การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติพฤติกรรม  ในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ของผู้ป่วยไตเรื้อรัง แบบบันทึกอัตราการกรองของไต และแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และอัตราการกรองของไตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง โดยสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความรู้เรื่องไตเรื้อรัง พฤติกรรมการจัดการตนเองและอัตราการกรองของไตมากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไตมีประสิทธิผลที่ดี ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องสามารถนําโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรังนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และอัตราการกรองไตของผู้ป่วยไตเรื้อรังในหน่วยงานของตนเองได้

References

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (2565). ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค.

กวิศรา สอนพูด และสัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2563). การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(1), 101-114.

ธิดารัตน์ อภิญญา. (2559). คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เบญจวรรณ กล้าถิ่นภู, นงนุช โอบะ และสุภาพร แนวบุตร. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต่อการควบคุมภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนไตเรื้อรัง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 26(1), 58-70.

ปิยะดา ด้วงพิบูลย์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเอง ด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลวัดเพลง.วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(3), 13-24.

ปุญญิศา วัจฉละอนันท์. (2562). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3-4 โรงพยาบาลโนนสูง.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 4(3), 15-25.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php)

รุ้งลาวัลย์ ยี่สุ่นแก้ว, สุรชาติ ณ หนองคาย, ชัยรัตน์ ฉายากุล และดุสิต สุจิรารัตน์. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิชรสารการพยาบาล, 18(1), 79-88.

ลดาวัลย์ มาลัยเจริญ. (2564). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้แถบสีสื่อสาร ต่อความรู้ เจตคติและการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 1-3a. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(3), 109-121.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2560). การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 17-24.

สุนิสา สีผม. (2556). การจัดการตนเองในผู้ป่วยไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 6(1), 12-18.

อัมพร จันทชาติ, มาลี มีแป้น และเพ็ญศรี จาบประไพ. (2560). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(3), 280-291.

Creer, L. T. (2000). Self-management of chronic illness. In Boekaerts, M., Printrich, P. R., & Zeidner, M. (Eds.). Handbook of self-regulation. pp. 601-629. San Diego, CA: Academic Press.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191. https://doi.org/10.3758/bf03193146

GBD Chronic Kidney Disease Collaboration. (2020). Global, regional, and national burden of chronic kidney disease, 1990-2017: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017. Lancet, 395(10225), 709-733. https://doi.org/10.1016/s0140-6736(20)30045-3

Herrington, W. G., et al. (2017). Body-mass index and risk of advanced chronic kidney disease: Prospective analyses from a primary care cohort of 1.4 million adults in England. PLoS One, 12(3), e0173515. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0173515

Hill, N. R., et al. (2016). Global prevalence of chronic kidney disease: A Systematic review and meta-analysis. PLoS One, 11(7), e0158765. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0158765

Kobo, O., et al. (2023). CKD-associated cardiovascular mortality in the United States: Temporal trends from 1999 to 2020. Kidney Medicine, 5(3), 1-9. https://doi.org/10.1016/j.xkme.2022.100597

Xie, Y., et al. (2018). Analysis of the global burden of disease study highlights the global, regional, and national trends of chronic kidney disease epidemiology from 1990 to 2016. Kidney International, 94(3), 567-581. https://doi.org/10.1016/j.kint.2018.04.011

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

สง่ารัตนพิมาน ก., อาษา ค. ., & เขียวชะอ่ำ ร. . (2023). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะที่ 3A ถึง ระยะที่ 4 ต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และอัตราการกรองของไต โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 4(1), e262291. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/262291