แนวทางการลด ละ เลิกบุหรี่ตามหลักพุทธธรรม กรณีศึกษานิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระมหาดนัยพัชร์ ยุนิรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระวิสิทธิ์ วงค์ใส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ธรรมรัตน์ มาทิพย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แนวทางการลด ละ เลิกบุหรี่, หลักพุทธธรรม, นิสิต, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุการสูบบุหรี่ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) วิทยาเขตเชียงใหม่ และ 2) เสนอแนวทางการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ตามหลักพุทธธรรมของนิสิต มจร วิทยาเขตเชียงใหม่สู่สาธารณะ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้านสาเหตุ ปัจจัยของการสูบบุหรี่ และใช้กระบวนการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ จาก ผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 ท่าน และ  นิสิต มจร. 18 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาในเนื้อหาสาระ

ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) แนวคิดสาเหตุของการสูบบุหรี่ของนิสิต มจร. วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้แก่ การเอาแบบอย่าง การอยากลองทำ การเอาตามอย่างบุคคลอื่น กิจกรรมสังคม และ ธรรมเนียม ในชุมชนบางแห่ง และ 2) ผลการเสนอแนวทางการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ตามหลักพุทธธรรม ของนิสิต มจร. วิทยาเขตเชียงใหม่สู่สาธารณะ พบว่า ควรใช้พระพุทธศาสนากับการพัฒนา กาย ศีล จิต และปัญญา ซึ่งประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านกาย เป็นการฝึกอบรมกายภายนอกทางอินทรีย์ทั้ง 5 ด้วยดี ปฏิบัติในทางที่เป็นคุณ และพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 2) การพัฒนาด้านศีล ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี 3) การพัฒนาด้านจิต ควรทำให้จิตใจเจริญงอกงามขึ้นในทางคุณธรรม ความดีงาม ความเบิกบานผ่องใส่สงบสุข โดยการบริหารจิต และ 4) การพัฒนาด้านปัญญา เป็นการฝึกอบรมปัญญาเพื่อสร้างความรู้ ความคิด ความเข้าใจ แก้ปัญหาด้วยปัญญาเพื่อเป็นพลังในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางให้สถาบันการศึกษาอื่น ๆ หลักพุทธธรรมมาเป็นแนวทางพัฒนาโปรแกรมการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ให้แก่นิสิต นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ณัฎฐกานต์ จุลจันทนโพธิ์ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบ ลด ละ เลิก บุหรี่ ในชุมชน กรณีศึกษา หมู่ 7 บ้านแก่นเท่า ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566 จาก http://gishealth.moph.go.th/healthmap/work.php?maincode=15011.

พระครูวิรุฬสุวรรณดิตห์ กนฺตธมฺโม. (2564). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ ๗ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

พระครูสิริปัญญานุโยค (ปัญญา ภู่มาลา). (2561). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ. (2566). พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 13 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566 จากhttps://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=41.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2539). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2564). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้ง 10. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์ พริ้นเตอร์ แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต (ผิวเผือด). (2560). แนวทางการจัดการปัญหาบุหรี่ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(20), 102.

พระสุทิน จกฺกวโร (ราชวัฒน์). (2562). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนบ้านหนองบัวอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชตะ รอสูงเนิน และคณะ. (2564). แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 15(2), 365-366.

ษมาพร รักจรรยาบรรณ. (2559). สรรสาระองค์กรสุขภาวะ แนวคิดและกรณีตัวอย่าง: องค์กรสุขภาพดี (Happy Body). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

Cortés-Rodríguez, M., Galindo-Villardón, P., Sánchez-Barba, M., Jarauta-Bragulat, E., & Urchaga-Litago, J. D. (2023). Analysis of psychological well-being from a compositional data analysis perspective: A new approach. Behavioral Sciences (Basel, Switzerland), 13(11), 926. https://doi.org/10.3390/bs13110926

Le Foll, B. et al., (2022). Tobacco and nicotine use. Nature Reviews. Disease Primers, 8(1), 19. https://doi.org/10.1038/s41572-022-00346-w

Ryff, C. D. (2014). Psychological well-being revisited: Advances in the science and practice of eudaimonia. Psychotherapy and Psychosomatics, 83(1), 10-28. https://doi.org/10.1159/000353263

Thrash, T. M., & Elliot, A. J. (2003). Inspiration as a psychological construct. Journal of Personality and Social Psychology, 84(4), 871-889. https://doi.org/10.1037/0022-3514.84.4.871

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-10