ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่1-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ คัดเลือกแบบเจาะจง ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 613 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Kruskal-Wallis test สถิติ Wilcoxon Signed-Rank test และสถิติสหสัมพันธ์ Spearman Rank Correlation
ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean= 77.45, S.D. = 15.42) เมื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพจำแนกตามชั้นปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ แตกต่างกับชั้นปีที่ 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05, p-value < 0.001 ตามลำดับ) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (Mean= 89.89, S.D. = 13.17) เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำแนกตามชั้นปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แตกต่างกับชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) นอกจากนี้ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r= 0.54, p-value < 0.001) ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนําไปเป็นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล โดยเน้นด้านความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
References
กรมควบคุมโรค. (2563). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธีป้องกันโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563 จาก https://shorturl.asia/Y59Mk.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563 จาก http://www.hed.go.th/uploads/file/Health%20Listeracy/studywork.pdf.
จิระภา ขำพิสุทธิ์. (2561). ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร.วารสารการวัดผลการศึกษา, 24(1), 67-78.
จิระภา ขำพิสุทธิ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น. วารสารวิชาการสาะรณสุขชุมชน, 7(4), 17-28.
ชินตา เตชะวิจิตรจาร. (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 1-11.
ณัฐริกา พร้อมพูน, กฤษิณี เหลื่อง, วรางคณา คงสวัสดิ์, กฤติญา เส็งนา และภูษณิศา มีนาเขตร. (2565). ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคโควิด-19 และพฤติกรรมสุขภาพแบบชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1(1), 16-27.
รัศมี สุขนรินทร์, กฤษฎนัย ศรีใจ, จินดา ม่วงแก่น และวรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ. (2565). พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 484-492.
วิชัย เทียนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564) .ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 126-137.
หยาดพิรุณ ศิริ, อธิวัต อาจหาญ และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 493-504.
อภิชา อินสุวรรณ, ณัฐหรินทร์ แพทยานนท์, ฐิติพร ฐิติจำเริญพร และปนัดดา เดชวงศ์ญา. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละช่วงวัยบนพื้นฐานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และไทยแลนด์ 4.0 โมเดล. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 21-39.
อลงกรณ์ สุขเรืองกูล, จักรพันธ์ โพธิภาพ, วสันต์ชาย สุรมาตย์, มณฑิรา ชนะกาญจน์, กัลยา ปังประเสริฐ และเพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 156-171.
Cascella, M., Rajnik, M., Aleem, A., Dulebohn, S. C., & Di Napoli, R. (2023). Features, Evaluation, and Treatment of Coronavirus (COVID-19). In StatPearls. StatPearls Publishing.
Dong, L., & Bouey, J. (2020). Public mental health crisis during COVID-19 pandemic, China. Emerging Infectious Diseases, 26(7), 1616-1618. https://doi.org/10.3201/eid2607.200407
Hange, N., et al. (2022). Impact of COVID-19 response on public health literacy and communication. Health Promotion Perspectives, 12(1), 1-9. https://doi.org/10.34172/hpp.2022.01
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078. https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050
Tao, Z., et al. (2023). Relationship between health literacy and COVID-19 knowledge: A cross-sectional study. Frontiers in Public Health, 11, 1058029. https://doi.org/10.3389/fpubh.2023.1058029

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข