ผลลัพธ์การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ศิราณี ศรีหาภาค วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กำทร ดานา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เสาวลักษณ์ ชาญกัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • รัชนี พจนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จรรยา คนใหญ่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • น้ำทิพย์ ไพคำนาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การดูแลระยะยาว, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผลลัพธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขจากผู้ให้ข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 777 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 660 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ประเด็น ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ McNemar test และ t-test

ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในกองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มติดบ้าน มากกว่าครึ่งหนึ่งป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 34.75 โรคเบาหวาน ร้อยละ 22.52 และมีโรคเรื้อรังร่วมมากกว่า 1 ชนิด ร้อยละ 24.07 ในขณะที่ผู้ดูแลในครอบครัวหนึ่งในสามมีปัญหาด้านสุขภาพโดยร้อยละ 41 มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และ ประมาณร้อยละ 21 เป็นผู้สูงอายุ 2) กระบวนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขถูกขับเคลื่อนโดยผู้จัดการดูแล ผู้ดูแลและแผนการดูแล และ 3) การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว ด้านสาธารณสุขช่วยสนับสนุนให้คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อย่างไรก็ตามพบว่า ระดับภาวะการพึ่งพิงในผู้สูงอายุที่ได้รับบริการดูแลจากกองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขก่อนและหลังการวิจัยไม่แตกต่างกัน ดังนั้นภาวะพึ่งพิงเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดบริการดูแลระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้ดูแลของครอบครัวในชุมชน

References

ชนายุส คำโสม, สุนีย์ ละกำปั่น และเพลินพิศ บุณยมาลิก. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 12(2), 193-207.

ภาสกร สวนเรือง, อาณัติ วรรณศรี และสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2561). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 437-451.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจิญ และวราภรณ์ เสถียรนพเกล้า. (2563). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศิราณี ศรีหาภาค และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2556) รูปแบบการป้องกันภาวะทุพพลภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ม.ป.ท.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณิศร เต็งรัง. (2557). ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู และทิพวรรณ ทับซ้าย. (2564). สถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวในจังหวัดขอนแก่น. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(36), 44-62.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแหล่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และราณี พรมานะรังกุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่.

Collin, C., Wade D. T., Davies S., & Horne V. (1988). The Barthel ADL index: A reliability study. Disability and Rehabilitation, 10(2), 61-63. https://doi.org/10.3109/09638288809164103

Dye, J. F., Schatz, I. M., Rosenberg, B. A., & Coleman, S. T. (2000). Constant comparison method: A kaleido-scope of data. The Qualitative Report, 4(1), 1-10. https://doi.org/10.46743/2160-3715/2000.2090

Jitapunkul, S., Kamolratanakul, P., & Ebrahim, S. (1994). The meaning of activities of daily living in a Thai elderly population: Development of a new index. Age Ageing, 23(2), 97-101. https://doi.org/10.1093/ageing/23.2.97

Kalideen, L., Govender, P., & van Wyk, J.M. (2022). Standards and quality of care for older persons in long term care facilities: A scoping review. BMC Geriatrics 22, 226. https://doi.org/10.1186/s12877-022-02892-0

Kittipimpanon, K., & Wangpitipanit, S. (2021). Factors associated with quality of care among dependent older persons in the community. Journal of Multidisciplinary Healthcare, 14, 2651-2655. https://doi.org/10.2147/jmdh.s323851

Organisation for Economic Co-operation and Development. (2020). Affordability of long-term care services among older people in the OECD and the EU. Retrived March 20, 2023. from https://www.oecd.org/health/health-systems/Affordability-of-long-term-care-services among-older-people-in-the-OECD-and-the-EU.pdf.

Sihapark, S., Kuhirunyaratn, P., & Chen, H. (2014). Severe disability among elderly community dwellers in rural Thailand: Prevalence and associated factors. Ageing International, 39(3), 210-220. https://doi.org/10.1007/s12126-013-9190-7

Stringer, E. & Genat W. (2004). Action research in health. Upper Saddle River, N.J.: Merrill Prentice Hall.

Stringer, E. (2014). Action research. 4thedition. Thousand Oaks, California: Sage Publication Ltd.

Suriyanrattakorn, S., & Chang, C. L. (2021). Long-term care (LTC) policy in Thailand on the homebound and bedridden elderly happiness. Health Policy Open, 8(2), 100026. https://doi.org/10.1016/j.hpopen.2020.100026

Zhou, M., et al. (2023). Long-term care status for the elderly with different levels of physical ability: A cross-sectional survey in first-tier cities of China. BMC Health Services Research, 23, 953. https://doi.org/10.1186/s12913-023-09987-3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-24

How to Cite

ศรีหาภาค ศ., คูหิรัญญรัตน์ ป., ดานา ก., ชาญกัน เ., พจนา ร., คนใหญ่ จ., & ไพคำนาม น. (2024). ผลลัพธ์การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 4(3), e266528. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/266528