ผลของการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการประเมินและป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยตนเองสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • เรณู ขวัญยืน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ณัฐรพี ใจงาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • อรนุช ชูศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ดวงเนตร ธรรมกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ศรีสุดา วงษ์วิเศษกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

โมบาย, แอปพลิเคชัน, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการประเมิน และป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยตนเองสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในเขตตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินวิจัย ได้แก่ โมบายแอปพลิเคชันการป้องกันภาวะสมองเสื่อม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิผลโมบายแอปพลิเคชันการป้องกันภาวะสมองเสื่อม และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโมบายแอปพลิเคชันการป้องกันภาวะสมองเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน 

ผลการศึกษา พบว่า โมบายแอปพลิเคชันการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนการประเมินภาวะสมองด้วยตนเอง และส่วนการฟื้นฟูสมองเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยตนเอง ได้แก่ การออกกำลังกายสมอง การฝึกสมาธิบริหารสมอง การเลือกอาหารบำรุงสมอง การพัฒนาสมองด้วยหลัก 4 ก้าว การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี และการฝึกสมองในรูปแบบเกมส์ ประสิทธิผลของโมบายแอปพลิเคชันด้านความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และการใช้ประโยชน์ โดยรวมพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยระดับมากที่สุด (Mean = 4.75, S.D. = 0.30) และระดับความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันโดยรวม อยู่ระดับมากที่สุดเช่นกัน (Mean = 4.85, S.D. = 0.36) แสดงให้เห็นว่าโมบายแอปพลิเคชันการป้องกันภาวะสมองเสื่อมนี้มีประสิทธิผลที่ดี ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ดูแลสามารถนำโมบายแอปพลิเคชันการป้องกันภาวะสมองเสื่อมไปใช้ในการส่งเสริมผู้สูงอายุให้ฟื้นฟูสมองป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ชัชวาล วงค์สารี. (2560). ผลกระทบการเกิดภาวะสมองเสื่อมต่อผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 23(4), 680-689.

ปราโมทย์ ประสาทกุล และคณะ. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วันเฉลิม พรหมศร, บุญชู บุญลิขิตศิริ และปรัชญา แก้วแก่น. (2563). การออกแบบแอปพลิเคชันเกมส์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 38(4), 21-41.

ศุภานัน เหลาคำ และวารณี บุญช่วยเหลือ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย 2559. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/cj.

สุมิตรา โพธิ์ปาน และปัทมา สุพรรณกุล. (2562). การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. พุทธชินราชเวชสาร, 36(1), 128-136.

อาทิตยา สุวรรณ์ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2559). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับ ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 21-32.

Bahar-Fuchs, A., Martyr, A., Goh, A. M. Y., Sabates, J. M., & Clare, L. (2020). Cognitive training for people with dementia: A cochrane review. Alzhemer’s & Dementia, 16(S7), 1-2. https://doi.org/10.1002/alz.044133

Coppola, J. F., Kowtko, M. A., Yamagata, C., & Joyee, S. (2013). Applying mobile application development to help dementia and alzheimer patients. Wilson Center for Social Entrepreneurship. Retrieved July 10, 2023 from https://digitalcommons.pace.edu/wilson/16.

Davis, B., Nies, M., Shehab, M., & Shenk, D. (2014). Developing a pilot e-mobile app for dementia caregiver support: Lessons learned. Journal of Nursing Informatics, 18(1), 1-10.

Dick, W. & Carey, L. (1996). The Systematic Design of Instruction. 4th Ed. New York: Haper Collins College Publishers.

Gately, M. E., Tickle-Degnen, L., Trudeau, S. A., Ward, N., Ladin, K., & Moo, L. R. (2020). Caregiver satisfaction with a video telehealth home safety evaluation for dementia. International Journal of Telerehabilitation, 12(2), 35-42. https://doi.org/10.5195/ijt.2020.6337

Lin, C. Y., Brostrom, A., Griffiths, M. D., & Pakpour, A. H. (2020). Investigating mediated effects of fear of COVID-19 and COVID-19 misunderstanding in the association between problematic social media use, psychological distress, and insomnia. Internet Interview, 21, 100345. https://doi.org/10.1016/j.invent.2020.100345

Tahmassebi, S. (2018). Digital game design for elderly people. Retrieved July 10, 2023. from https://mau.diva-portal.org/smash/get/diva2:1480001/FULLTEXT01.pdf.

Ye, B., How, T. V., Chu C. H., & Mihailidis, A. (2021). Dementia Care apps for people with dementia and informal caregivers: A systematic review protocol. Gerontology, 67(5), 633-638. https://doi.org/10.1159/000514838

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-18