อิทธิพลของความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการวางแผนการพยาบาลต่อการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
ความเครียด, การสนับสนุนทางสังคม, การวางแผนการพยาบาล, การปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบการทำนายเพื่อศึกษาอิทธิพลของความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการวางแผนการพยาบาลต่อการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิชาปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 123 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเครียด สวนปรุง 2) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 3) แบบประเมินความสามารถในการวางแผนการพยาบาล และ 4) แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94, 0.83, 0.89, 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation) และสถิติความถดถอยพหุคูณแบบขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติการพยาบาลของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียด (r= -0.23, p-value = 0.005) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เพื่อน และอาจารย์ (r=0.21, p-value = 0.009; r=0.25, p-value = 0.006; r=0.19, p-value = 0.02) ตามลำดับ และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการวางแผนการพยาบาล (r=0.61, p-value < 0.001) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการพยาบาลฯ มี 2 ตัวแปร คือ ความสามารถในการวางแผนการพยาบาล และการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน ซึ่งทั้งสองตัวแปรสามารถพยากรณ์การปฏิบัติการพยาบาล ได้ร้อยละ 40.80 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R2) เท่ากับ 0.41 (p-value < 0.05) ผลจากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการใช้หลักสูตร: หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
งานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. (2566). ผลการประเมินความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. (เอกสารอัดสำเนา).
ธนพล บรรดาศักดิ์, นฤมล จันทรเกษม, อลิษา ทรัพย์สังข์ และวรรณา ชัยชนะรุ่งเรือง. (2564). การป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(1), 62-70.
ประวีดา คำแดง. (2564). การสอนปฏิบัติในคลินิกตามความคาดหวังของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย, 27(1), 17-28.
ลำเจียก กำธร และโสภิต สุวรรณเวลา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับทักษะชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลตรัง. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 14(4), 54-68.
สกุลรัตน์ เตียววานิช. (2562). ผลของการใช้แบบบันทึกกระบวนการพยาบาลสำหรับการศึกษาภาคปฏิบัติในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์. วารสารสภาการพยาบาล, 34(3) 43-59.
สืบตระกูล ตันตลานุกูล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 81-92.
สุชาดา อินทรกำแหง และพีระ เรืองฤทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 17(3), 106-112.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมมาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.
Arpanantikul, M., & Pratoomwan, A. (2017). Clinical learning experiences of second-year Thai nursing student: A phenomenological study. Pacific Rim International Journal Nurse Research, 21(2), 121-134.
Bassah, N., Epie, N. N. E., Ngunde, P. J. (2023). Nurses' knowledge and use of the nursing process in two major hospitals in Fako, Cameroon. Nursing Practice Today, 10(1), 53-61. https://doi.org/10.18502/npt.v10i1.12257
Best, W. J. (1978). Research in education (3rd ed.). New Jersy: Prentice Hall.
Carey, M. C., Kent, B., Latour, J. M. (2018). Experiences of undergraduate nursing students in peer assisted learning in clinical practice: a qualitative systematic review. Joanna Briggs Institute Database of Systematic Reviews & Implementation Reports, 16(5), 1190-1219. https://doi.org/10.11124/jbisrir-2016-003295
Donovan, E.E., & Greenwell, M.R. (2021). Social support in nursing: A review of the literature. Nursing communication, 1(1), 1-11.
Far, M. S., et al. (2017). Clinical instructor social support and nursing student stress in clinical environments. International Journal of Advanced Biotecnology and Research, 8(1), 182-188.
Fertelli, T. K. E. (2019). Peer assessment in learning of nursing process: Critical thinking and peer support. Internal Journal of Caring Science, 12(1), 331-339.
Ghods, A. A, Ebadi. A., Sharif Nia, H., Allen, K. A, Ali-Abadi, T. (2023). Academic burnout in nursing students: An explanatory sequential design. Nursing Open, 10(2), 535-543. https://doi.org/10.1002/nop2.1319
Hinkle, D. E. (1988). Applied statistics for the behavioral science (2nd ed). Boston: Mifflin.
Kim, H., & Lee, I. (2022). The mediating effects of social support on the influencing relationship between grit and academic burnout of the nursing students. Nursing Open, 9, 2314-2324. https://doi.org/10.1002/nop2.1241
Lachine, O. H., Abdelaal, H. M., Khedr, M. M. (2020). Relationship between nursing students’ self-efficacy and attachment to their families and friends. Archaeological Society of New Jersey, 22(2), 49-64. https://doi.org/10.21608/asalexu.2020.206112
Lazarus, R., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer.
Liu, J., Yang, Y., Chen, J., Zhang, Y., Zeng, Y., & Li, J. (2022). Stress and coping styles among nursing students during the initial period of the clinical practicum: A cross-sectional study. International Journal of Nursing Sciences, 9(2), 222-229. https://doi.org/10.1016/j.ijnss.2022.02.004
Löfgren, U., Wälivaara, B., Strömbäck, U., & Lindberg, B. (2023). The nursing process: A support model for nursing students’ learning during clinical education: A qualitative study. Nurse Education in Practice, 72, 103747. https://doi.org/10.1016/j.nepr.2023.103747
Moghadas, T., & Kesbakhi, M.S. (2020). Factors influencing implementation of nursing process by nursing students: A qualitative study. Journal of Medical Education, 19(4), e110810. https://doi.org/10.5812/jme.110810
Onieva-Zafra, M. D., Fernandez-Munoz, J.J., Fernandez-Martinez, E. F., Garcia-Sanchez, J., Abreu-Sanchez, A., & Parra-Fernandez, M. L. (2020). Anxiety perceived stress and coping strategies in nursing students: A cross sectional, correlational, descriptive study. BMC Medical Education, 20, 370. https://doi.org/10.1186/s12909-020-02294-z
Radeef, A., Faisal, G.G., & Khaled, M.F. (2022). Assessment of psychological distress and coping strategies among dental undergraduate students in a Malaysian University during Covid-19 Pandemic. Siriraj Medical Journal, 74(6), 350-356. https://doi.org/10.33192/smj.2022.42
Rafati, F., Nouhi, E., Sabzevan., Dehghan, N. (2017). Coping strategies of nursing students for dealing with stress in clinical setting: A qualitative study. Electronic Physician, 9(12), 6120-6128. https://doi.org/10.19082/6120
Sanitlou, N., Sartphet, W., & Naphaarrak, Y. (2019). Sample size calculation using G*power program. Academic Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 5(1), 496-507.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using Multivariate Statistics (5th ed.). New York: Allyn and Bacon.
Zamanzadeh, V., Valizadeh, L., Tabrizi, F. J., Behshid, M., & Lotfi, M. (2015). Challenges associated with the implementation of the nursing process: A systematic review. Iranian Journal Nursing and Midwifery Research, 20(4), 411-419. https://doi.org/10.4103/1735-9066.161002
Zheng, Y. X., Jiao, J. R., & Hao, W. N. (2022). Stress levels of nursing students: A systematic review and meta-analysis. Medicine, 101(36), 1-6. https://doi.org/10.1097/md.0000000000030547
Zhou, L., Sukpasjaroen, K., Wu, Y., Gao, L., Chankoson, T., & Cai, E. (2022). Perceived social support promotes nursing students' psychological wellbeing: Explained with self-compassion and professional self-concept. Frontiers in Psychology, 5(13), 835134. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.835134

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข