ผลของโปรแกรมป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กต่อความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบของมารดาชาวกะเหรี่ยง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ ตั้งพิษฐานสกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อักษรา ทองประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรางคณา นาคเสน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โปรแกรมป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็ก, มารดาชาวกะเหรี่ยง, ความรู้, การรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กต่อความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบของมารดาชาวกะเหรี่ยง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกเป็นมารดาชาวกะเหรี่ยงที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กของมารดากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และสมุดคู่มือโรคปอดอักเสบสำหรับมารดา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบ แบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบประเมินการสาธิตย้อนกลับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ภายในกลุ่มเดียวกันด้วยสถิติ Paired t-test และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test ตามลำดับ   

ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคปอดอักเสบสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบในระดับดี ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพสามารถนำโปรแกรมฯ นี้ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็กของมารดาชาวกะเหรี่ยงอำเภออมก๋อยหรือนำไปปรับใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีกลุ่มตัวอย่างลักษณะใกล้เคียงกันต่อไป

References

กรมควบคุม. (2561). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2561. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จากhttps://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=21.

กุลรัศมิ์ ชำนินอก, พัชราภรณ์ อารีย์ และสุธิศา ล่ามช้าง. (2563). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของมารดาสำหรับการป้องกัน การกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็ก. ม.ป.ท..https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:47850.

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลอมก๋อย. (2566). งานเวชระเบียน โรงพยาบาลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: โรงพยาบาลอมก๋อย.

ฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2564). สถิติการป่วยโรคปอดอักเสบ.สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=4&pf=01101001&tp=231.

ดวงเนตร์ ภู่วัฒนาวนิชย์. (2560). ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถ ของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล, 19(2), 35-44.

ทัศนีย์ จินะธรรม, กิรภัทร์ คุ้มเนตร และพิษณุรักษ์ กันทวี. (2561). การศึกษาความเชื่อ และพฤติกรรมด้านสุขภาพที่มีผลต่อการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 10(1), 179-192.

ภาวิณี ช่วยแท่น, ภรณี วัฒนสมบูรณ์ และสุปรียา ตันสกุล (2563). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการกลับมารักษาช้า ในมารดาเด็กโรคปอดอักเสบ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566 จาก https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72133.

วัลทณี นาคศรีสังข์. (2564). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 82-98.

ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ. (2560). ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในเชิงพื้นที่ เรื่องการตั้งครรภ์และการคลอดปลอดภัย กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จาก http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=3487.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2566). การสำรวจเส้นทางเพื่อใช้ในการพัฒนาการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกล. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จากhttps://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and sick role behavior. The Health Belief Model: Origins and Correlates in Psychological Theory. Health Education Monographs, 2(4), 336-347. https://doi.org/10.1177/10901981740020040.

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.

World Health Organization. (2022). Pneumonia review. Retrieved September 5, 2022 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31