การรับรู้ด้านสุขภาพและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้

ผู้แต่ง

  • อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สมสมัย ทัพนันท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ศิริขวัญ โพธิ์แจ้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • จารุวรรณ สุรัสโม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

ความร่วมมือในการใช้ยา, การรับรู้ด้านสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพ ความร่วมมือในการใช้ยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 85 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้สูงอายุที่มีปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาจำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเกี่ยวกับการรับรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไค-สแควร์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา 3 อันดับแรก ได้แก่ การไม่มาพบแพทย์ตามนัด การลืมรับประทานยา และการรับประทานยาไม่ตรงเวลา ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.68, S.D. = 0.36) เพศมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนขนาดยาตามความต้องการของตนเอง (p-value < 0.05) อายุมีความสัมพันธ์กับการไม่มาพบแพทย์ตามนัด (p-value < 0.05) และระยะเวลาที่ป่วยมีความสัมพันธ์กับการไม่มาพบแพทย์ตามนัด (p-value < 0.05) และการขาดยาเนื่องจากไม่ได้มาพบแพทย์ตามนัด (p-value < 0.05) ดังนั้นบุคลากรสุขภาพควรคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา และสถานบริการควรจัดระบบบริการที่มีเภสัชกรร่วมให้คำปรึกษาและให้ความรู้เรื่องยาในสถานพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ

References

กมลชนก จงวิไลเกษม และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2562). การพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับ คนไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 13(1), 17-30.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). Dashboard Health KPI: ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้.สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566 จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=168.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (2564). รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงาน ด้านโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1186620211006043036.pdf.

ชมพูนุท พัฒนจักร. (2560). ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(3), 13-22.

ณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์ และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2560). ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 67-83.

ดาลิมา สำแดงสาร, ทิพมาส ชิณวงศ์ และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(3), 51-66.

ทรงวุฒิ สารจันทึก. (2564). ผลการประเมินปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยการเยี่ยมบ้านแบบ INHOMESSS ในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(2), 233-247.

ธราดล โพธิษา, น้ำเงิน จันทรมณี และทวีวรรณ ศรีสุขคำ. (2564). ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดพะเยา. วารสารเภสัชกรรมไทย, 13(2), 400-411.

ธัญรดี ปราบริปู. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกพิเศษ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 32(2), 184-194.

นฤมล สบายสุข และลำพรรณ แสนบิ้ง. (2566). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงผิดนัด. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(2), 465-477.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปณิตา ลิมปะวัฒนะ และมัญชุมาส มัญจาวงษ์. (2564). โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 17-23.

พุทธชาด ฉันทภัทรางกูร. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารเภสัชกรรมคลินิก, 29(1), 13-24.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). กลุ่มรายงานมาตรฐาน: อัตราป่วย ด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566 จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php &cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=6b9af46d0cc1830d3bd34589c1081c68.

รุ่งทิวา ขันธมูล และสมจิต แดนสีแก้ว. (2560). การจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 89-97.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2561). ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2566 จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความ/.

โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. (2564). การประชุมสรุปผลงานประจำปี 2564, สรุปโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2564. ฉะเชิงเทรา: โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว.

วรารมย์ จิตอุทัย. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศิธร รุ่งสว่าง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(35), 6-22.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

Becker, M. H. & Maiman, L. A. (1974). The health belief model and sick role behavior. In Becker M. H. Becker (Ed.), The health belief model, and personal health behavior (pp.82-92). New Jersey: Charles B. Slack, Inc.

Creswell, J. W. & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and conducting mixed methods research (3 ed.). Los Angeles: SAGE Publications, Inc.

Musini, V. M., Tejani, A. M., Bassett, K., Puil, L. & Wright, J. M. (2019). Pharmacotherapy for hypertension in adults 60 years or older. Cochrane Database of Systematic Reviews, 6(6), 1-99. https://doi.org/10.1002/14651858.CD000028.pub3

Paisansirikul, A., Ketprayoon, A., Ittiwattanakul, W. & Petchlorlian, A. (2021). Prevalence and associated factors of drug-related problems among older people: A cross-sectional study at King Chulalongkorn Memorial Hospital in Bangkok. Drugs Real World Outcomes, 8(1), 73-84. https://doi.org/10.1007/s40801-020-00219-2

Punnapurath, S., Vijayakumar, P., Platty, P. L., Krishna, S. & Thomas, T. (2021). A study of medication compliance in geriatric patients with chronic illness. Journal of Family Medicine and Primary Care, 10(4), 1644-1648. https://doi.org/10.4103/jfmpc.jfmpc_1302_20

World Health Organization. (2003). Adherence to long-term therapies: Evidence for action. Retrieved October 9, 2023 from http://www.who.int/chronic_conditions/adherencereport/en/.

World Health Organization. (2023). Hypertension. Retrieved November 9, 2023 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension.

Zhang, Y., et al. (2018). Factors affecting medication adherence in community-managed patients with hypertension based on the principal component analysis: Evidence from Xinjiang, China. Patient Prefer Adherence, 12, 803-812. https://doi.org/10.2147/PPA.S158662

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-14