ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • พรรณณิภา ต่อมดวงแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปะราลี โอภาสนันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กาญจนา หินมะลิ โรงพยาบาลนครพิงค์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ระดับความดันโลหิต, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ (Cross-Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 294 คน คัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง แบบประเมินระดับความเครียด แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการเข้าถึงบริการสุขภาพ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และแบบประเมินการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติการถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple Logistic Regression)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.08 เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 56-75 ปี (Mean = 60.17, S.D.=15.15) ร้อยละ 63.27 สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ได้แก่ ดัชนีมวลกายระดับปกติ (AOR 1.82, 95%CI: 1.10-3.32) มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการรับประทานอาหารหวาน-มัน-เค็มระดับปานกลาง (AOR 3.31, 95%CI: 1.72-5.70) มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อเนื่อง ใน 1 สัปดาห์ (AOR 2.16, 95%CI: 1.18-3.93) มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก (AOR 3.40, 95%CI: 1.15-10.07) มีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง (AOR 4.10,  95%CI: 1.90-8.50) และมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง (AOR 3.41, 95%CI: 1.01-11.44) ดังนั้นผู้ให้บริการด้านสุขภาพควรมีการประเมินปัจจัยดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นแนวทางพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตสูง อันจะนำไปสู่การลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/ disease_detail.php?d=52.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจทุกระดับ: ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://mhso.dmh. go.th/fileupload/202004011583360458.pdf.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สมุดบันทึกสุขภาพวัยทำงาน. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565 จาก https://hp.anamai.moph.go.th/ web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2564-S/IDC1_19/OPDC_2564_IDC1-19_03.pdf.

กลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ โรงพยาบาลนครพิงค์. (2566). ข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพบริการโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2566 จาก https://spcm.nkp-hospital.go.th/strategic/ public_html/index_t7test.php?codenew=ST0136%20&%20dyear=2023.

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสหวานมัน เค็ม.สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2565 จาก https://home.maefahluang.org/17664752/eat-test.

จอมขวัญ รัตนพิบูลย์ และคณะ. (2565). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมในครัวเรือนตำบล ควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565 จาก https://ptho.moph. go.th/ptvichakarn66/uploads/ 55816_0303_20230731030109.pdf.

ดาลิมา สำแดงสาร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปฐญาภรณ์ ลาลุน. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2563). ศึกษาการพัฒนาเครื่องมือประเมินการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 39(2), 12-23.

พระครูสังฆรักษ์ บุญเสริม กิต.ติวณ.โณ, รวิโรจน์ ศรีคภา, กาญจนา ดำจุติ และคุณญา แก้วทันคำ. (2562). อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.

พัชรินทร์ สิงห์ดำ, พัชรีวัลย์ ปั้นเหน่งเพ็ชร และคัมภีร์พร บุญหล่อ. (2563). ความรู้ ณ ปัจจุบันเกี่ยวกับกลไกการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน และแนวทางการ พัฒนายาลดภาวะดื้ออินซูลิน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(6), 768-776.

รุจิรา ธรรมใจกูล. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความโลหิตสูงของประชาชนจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 1(2), 41-53.

รุจิรางค์ แอกทอง. (2549). การปรับตัวของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). กิจกรรมทางกาย: เท่าไหร่ถึงจะพอ (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=133.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565 จาก https://www.thaihypertension.org/guideline.html.

Abdisa, L., et al. (2022). Uncontrolled hypertension and associated factors among adult hypertensive patients on follow-up at public hospitals, Eastern Ethiopia: A multicenter study. SAGE Open Medicine, 10, 20503121221104442. https://doi.org/10.1177/20503121221104442

Bursac, Z., Gauss, C. H., Williams, D. K., & Hosmer, D. W. (2008). Purposeful selection of variables in logistic regression. Source Code for Biology and Medicine, 3, 17. https://doi.org/10.1186/1751-0473-3-17

Dean, A. G., Sullivan K. M., & Soe, M. M. (2013). OpenEpi: Open Source Epidemiologic Statistics for Public Health, Version 3.01. Retrieved September 16, 2023 from https://www. openepi.com/Menu/OE_Menu.htm.

Gao, Z., et al. (2022). Risk prediction model for uncontrolled hypertension in Chinese community. Frontiers in Cardiovascular Medicine, 8, 808071. https://doi.org/10.3389/ fcvm.2021.808071

Harding, B. N., et al. (2022). Relationship between social support and incident hypertension in the Jackson Heart Study: A cohort study. BMJ Open, 12(3), e054812. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2021-054812

Kapoor, M., Dhar, M., Mirza, A., Saxena, V., & Pathania, M. (2021). Factors responsible for uncontrolled hypertension in the adults over 50 years of age: A pilot study from Northern India. Indian Heart Journal, 73(5), 644-646. https://doi.org/10.1016/ j.ihj.2021.07.003

Leung, A. A., Bushnik, T., Hennessy, D., McAlister, F. A., & Manuel, D. G. (2019). Risk factors for hypertension in Canada. Health Reports, 30(2), 3-13.

Pan, J., Hu, B., Wu, L., & Li, Y. (2021). The effect of social support on treatment adherence in hypertension in China. Patient Preference and Adherence, 15, 1953-1961. https://doi.org/10.2147/PPA.S325793

Riaz, M., Shah, G., Asif, M., Shah, A., Adhikari, K., & Abu-Shaheen, A. (2021). Factors associated with hypertension in Pakistan: A systematic review and meta-analysis. PloS One, 16(1), e0246085. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0246085

Sakboonyarat, B., Rangsin, R., Kantiwong, A., & Mungthin, M. (2019). Prevalence and associated factors of uncontrolled hypertension among hypertensive patients: A nation-wide survey in Thailand. BMC Research Notes, 12(1), 380. https://doi.org/10.1186/s13104-019-4417-7

Sharma, J. R., et al. (2021). Prevalence of hypertension and its associated risk factors in a rural black population of Mthatha Town, South Africa. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(3), 1215. https://doi.org/10.3390/ ijerph18031215

Shiraly, R., Khani Jeihooni, A. & Bakhshizadeh Shirazi, R. (2022). Perception of risk of hypertension related complications and adherence to antihypertensive drugs: A primary healthcare based cross-sectional study. BMC Primary Care, 23(1), 303. https://doi.org/10.1186/s12875-022-01918-1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06