การพัฒนานวัตกรรมรองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติในเวลากลางคืนโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบและการบูรณาการข้ามศาสตร์ต่อการรับรู้ความมั่นใจในการเดินของผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, รองเท้าส่องสว่าง, ผู้สูงอายุ, การคิดเชิงออกแบบ, การบูรณาการข้ามศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยและการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมรองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติในเวลากลางคืนโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อการรับรู้ความมั่นใจในการเดินของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมรองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติในเวลากลางคืนสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) รองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติ 2) แบบประเมินความมั่นใจการเดินเมื่อทำกิจกรรมเวลากลางคืนสำหรับผู้สูงอายุ 3) แบบประเมินการใช้งานนวัตกรรม และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสถิติทดสอบ One Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้นวัตกรรมรองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในการเดินเมื่อทำกิจกรรมเวลากลางคืนอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.37, S.D. = 0.33) สูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐาน (Mean = 3.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนการใช้งานนวัตกรรมรองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.34, S.D. = 0.40) สูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐาน (Mean = 3.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้สูงอายุสำหรับการใช้งานนวัตกรรมรองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.42, S.D. = 0.40) สูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐานระดับมาก (Mean = 3.50) (p-value < 0.001) ดังนั้นการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมรองเท้าส่องสว่างอัตโนมัติในเวลากลางคืนโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสามารถส่งเสริมความมั่นใจในการเดินของผู้สูงอายุในชุมชนได้
References
กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และคณะ. (2564). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบและการเรียนรู้แบบ สหสาขาวิชาชีพต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (4Cs) และสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพในวิชานวัตกรรมทางการพยาบาล. Journal of Information and Learning, 32(3), 14-24.
จารุณี มุมบ้านเซ่า. (2559). การวิจัยแบบบูรณาการข้ามศาสตร์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 25(1), 119-132.
จิรัชยา เคล้าดี, สุภชัย นาคสุวรรณ์ และจักรวาล สุขไมตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 27-32.
ฉัตรชฎา สุตาลังกา, วิลาวัณย์ ไชยอุต, พลอยไพลิน นามกร และนิรันดร์ เงินแย้ม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานสมรรถภาพสมองการทำงานของสมองด้านการจัดการสมรรถภาพทางกาย กับความกลัว การล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย, 53(2), 16-31.
ชวพร ธรรมนิตยกุล และกันยารัตน์ ศรีวิสทิยกุล. (2565). ความต้องการและรูปแบบการสื่อสารนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 31(1), 75-93.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ธนู อ่อนอุดม. (2558). การรับรู้ในสนุทรียศาสตร์ของผู้บกพร่องการมองเห็น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการออกแบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
นาถนภา กิตติจารุนันท์. (2561). ผลกระทบของระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงต่อความเร็วและความถูกต้องในการอ่านหนังสือของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ ศรีนวล และธนัช กนกเทศ. (2564). อุบัติเหตุพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุไทยความมั่นใจที่ปัญญาชาวบ้านโดยเทคนิคการสะท้อนแสง Bamboo Louvers Design for the Elder in Local Resident by Daylight Reflecting Technique. วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 3(1), 89-111.
ปิติภัทร ปิ่นบุตร, กายรัฐ เจริญราษฎร์, กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์ฒ และณัฐชามญฑ์ ศรีเจริญรัตนา. (2563). การประยุกต์ใช้เสียงเพื่อควบคุมแสงสว่างบ้านอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(1), 306-319.
พิชามญชุ์ สุรียพรรณ, สุทธิศิลป์ สุขสบาย, ปารณีย์ ชั่งกฤษ และมหิดล สุรียพรรณ. (2565). การพัฒนานวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 7(2), 33-40.
ยลดา ไชยรี. (2563). แสงในงานสถาปัตยกรรมไทย: การประยุกต์ในรีสอร์ทจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ยุทธนา ทองท้วม. (2559). การพัฒนารูปแบบช่อแสงไม้ไผ่สำหรับผู้สูงอายุในที่พักอาศัยที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยเทคนิคการสะท้อนแสง. วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 3(1), 89-111.
ยุพาวดี ขันทบัลลัง และคณะ. (2565). การพัฒนาและประสิทธิผลของนวัตกรรมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(1), e257969.
วันทนา ศุขมณี และอนุวัฒน์ ชั้นกลาง. (2560). ไม้เท้าอัจฉริยะ (Smart Cane). การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8 วิจัยเพื่อประเทศไทย 4.0 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
โสภิดา ท้วมมี, หทัยรัตน์ เกตุมณีชัยรัตน์, ฌัลลิกา เพชรมณีนิลใส และพศวัต พันธ์โสตถี. (2565). ไม้เท้าอัจฉริยะสำหรับช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 18(2), 22-39.
Broman, A. T., West, S. K., Munoz, B., Bandeen-Roche, K., Rubin, G. S., & Turano, K. A. (2004). Divided visual attention as a predictor of bumping while walking: The salisbury eye evaluation. Investigative Ophthalmology & Visual Science, 45(9), 2955-2960. https://doi.org/10.1167/iovs.04-0219
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191. https://doi.org/10.3758/bf03193146
Ferguson, E. L., et al. (2024). Visual Impairment, Eye Conditions, and Diagnoses of Neurodegeneration and Dementia. JAMA Network Open, 7(7), e2424539. https://doi.org/10.1001/jamanetworkopen.2024.24539
Freeman, E. E., Munoz, B., Rubin, G., & West, S. K. (2007). Visual field loss increases the risk of falls in older adults: The Salisbury eye evaluation. Investigative Ophthalmology & Visual Science, 48(10), 4445-4450. https://doi.org/10.1167/iovs.07-0326
Gall, M. D., Gall, J. P., & Borg, W. R. (2007). Educational research: An Introduction (8th ed.). New York: Pearson Education.
Gravetter, F. J., & Wallnau, L. B. (2016). Statistics for the behavioral sciences (10th ed.). Boston: Cengage Learning.
Jefferis, B. J., et al. (2014). How are falls and fear of falling associated with objectively measured physical activity in a cohort of community-dwelling older men?. BMC Geriatrics, 14(1), 114. https://doi.org/10.1186/1471-2318-14-114
Kakara, R., Bergen, G., Burns, E., & Stevens, M. (2023). Nonfatal and fatal falls among adults aged ≥65 years - United States, 2020-2021. MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report, 72(35), 938-943. https://doi.org/10.15585/mmwr.mm7235a1
Li, Y., Hou, L., Zhao, H., Xie, R., Yi, Y., & Ding, X. (2023). Risk factors for falls among community-dwelling older adults: A systematic review and meta-analysis. Frontiers in Medicine, 9, 1019094. https://doi.org/10.3389/fmed.2022.1019094
MacKay, S., Ebert, P., Harbidge, C., & Hogan, D. B. (2021). Fear of Falling in Older Adults: A scoping review of recent literature. Canadian Geriatrics Journal, 24(4), 379-394. https://doi.org/10.5770/cgj.24.521
Reed-Jones, R. J., Solis, G. R., Lawson, K. A., Loya, A. M., Cude-Islas, D., & Berger, C. S. (2013). Vision and falls: A multidisciplinary review of the contributions of visual impairment to falls among older adults. Maturitas, 75(1), 22-28. https://doi.org/10.1016/j.maturitas.2013.01.019
Saftari, L. N. & Kwon, O. S. (2018). Ageing vision and falls: A review. Journal of Physiological Anthropology, 37(1), 1-14. https://doi.org/10.1186/s40101-018-0170-1
Thanomwong, A., Khomarwut, S., Satrakom, W., & Wonngnuch, P. (2020). Prevalence and Factor Associated with falling among older adults in Ban Den San Sai Village, Thung Ko Sub-district, Wiang Chiang Rung District, Chiang Rai Province, Thailand. Journal of Health Science Alternative Medicine, 2(2), 23-26.
Vo, M. T. H., Thonglor, R., Moncatar, T. J. R., Han, T. D. T., Tejativaddhana, P., & Nakamura, K. (2023). Fear of falling and associated factors among older adults in Southeast Asia: A systematic review. Public Health, 222, 215-228. https://doi.org/10.1016/j.puhe.2022.08.012

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข