รูปแบบความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการจัดการระบบสุขภาพ ในสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ชุมพล นุชผ่อง -

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, การจัดการระบบสุขภาพ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกลยุทธ์ การจัดการระบบสุขภาพ ต่อผลการดำเนินงานของการจัดการระบบสุขภาพ ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) จำนวนกลุ่มตัวอย่างของผู้บริหารในสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัยในการเก็บข้อมูลทั้งหมดจำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 71 ข้อ มีความเชื่อมั่น (reliability)  เท่ากับ 0.97

ผลการวิจัย พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกลยุทธ์ กับผลการดำเนินงานของการจัดการระบบสุขภาพ โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อย (β = 0.228)   มีความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกลยุทธ์ กับผลการดำเนินงานของการจัดการระบบสุขภาพ อิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านตัวแปรการจัดการระบบสุขภาพ โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก (β = 0.699 ) มีความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ผู้บริหารในพื้นที่ภายใต้สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต้องพัฒนารูปแบบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน ได้แก่ การดำเนินงานให้สำเร็จ เพื่อควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร่วมกับสร้างความสัมพันธ์กับทุกภาคส่วน (RPW) ขับเคลื่อนเครือข่ายการดำเนินงานที่สำคัญ โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการในจังหวัดสุโขทัยในการปฏิบัติงานร่วมกัน และการพัฒนาผู้นำของปัจจุบันและอนาคต

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

ศูนย์ประสานงาน COVID-19 จังหวัดสุโขทัย. [ออนไลน์]. (2565). [ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// www.sukhothai.go.th

จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง. สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ฝ่ายการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2557; 20(2) : 344 – 59.

อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. รูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตาม Service Plan: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

. [ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/Veridian-E-Journal/article/view/ 170986

สุรชัย โชคครรชิตไชย. โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยปลายปี 2563. วารสาร สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; 10(3) : 1 – 2.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ The Methodology in Nursing Research. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Polit. D.F. & Hungler. B.P. Nursing research : Principle and method (6th ed.). Philadelphia. PA: J.B.Lipincott; 1999.

สุรัตน์ ธงภักดิ์. การพัฒนาตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2557; 7 (1) : 55 – 67.

บุญเรือน ทองทิพย์. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (Covid-19) กับศักยภาพของผู้นำต่อการพัฒนา องค์การแบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษย์วิทยาเชิงพุทธ 2563, 5(11) : 434 – 47.

กาญจนา ปัญญาธร กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และ วรรธนี ครองยุติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID - 19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2563; 32(1) : 193 – 206.

ระนอง เกตุดาว อัมพร เที่ยงตรงดี และ ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิชาการสาธารณสุขปีที่ 2564; 30(1) : 55 – 71.

สอยฤทัย เกลี้ยงนิล. รัฐ-ชุมชนกับการจัดการ ภัยพิบัติโรคไวรัสโควิด 19 พื้นที่ถนนข้าวสาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. (2563). [ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/ 2562_1597741815_6114832006.pdf

สุมาลี จุทอง. การจัดการภัยพิบัติโรคระบาด โควิด 19ในพื้นที่ชุมชนริมคลองหัวหมากน้อย สำนักงานเขตบางกะปิ. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1597737114_6114832048.pdf

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4 (1) : 33 – 48.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ นภชาสิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาท การดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2) : 92 – 103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-31