การจัดการความปวดในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

Authors

  • กนกวรรณ สว่างศรี สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

การจัดการความปวด, การประเมินความปวด, ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, pain management, pain assessment, open heart surgery

Abstract

         การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เป็นการผ่าตัดที่มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อมาก ร่วมกับภายหลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องคาท่อช่วยหายใจ สายระบายทรวงอก และสายสวนต่างๆ ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความปวดมากขึ้น การจัดการความปวดควรครอบคลุมระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด ภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะวิกฤต ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการสื่อสารจากการคาท่อช่วยหายใจและการได้รับยาระงับประสาท จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับการจัดการความปวดที่เพียงพอ การประเมินความปวดเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการความปวด เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความปวด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารได้ดี และเครื่องมือที่ใช้ประเมินความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารได้จำกัด พยาบาลผู้ดูแลในหน่วยวิกฤตจึงควรเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินความปวดที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อนำไปสู่การจัดการความปวดด้วยวิธีการใช้ยาและไม่ใช้ยาอย่างเหมาะสม และเกิดผลลัพธ์ของการจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพ

Pain management in patients undergoing open heart surgery

         Open heart surgery causes intensive tissue trauma. In addition, the patients after surgery have to retain endotracheal tube, intercostal chest drainage, and other catheters which make the patients more painful. Pain management for the patients should cover pre-, peri-, and post-operative periods. In the critical period after the surgery, the patients are unable to communicate and self-report of pain because they retained endotracheal tube with mechanical ventilator and receiving sedation. They are at risk of inadequate pain management. Pain assessment is the first step of pain management. Pain assessment tools include verbal pain assessment tools and non-verbal pain assessment tools. Critical care nurses should select an appropriate pain assessment tool for the individual patient’s condition. The precision of pain assessment is essential for pain management both pharmacological and non-pharmacological methods and lead to the effective pain management outcomes. 

 

Downloads

How to Cite

1.
สว่างศรี ก. การจัดการความปวดในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2017 Oct. 17 [cited 2024 Mar. 29];28(1):2-15. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/101611