ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง ของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง

Authors

  • ประกาย จิโรจน์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • นิภา ลีสุคนธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ณัฐนาฎ เร้าเสถียร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • เรณู ขวัญยืน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Keywords:

โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง, โรคความดันโลหิตสูง, การสร้างเสริมสุขภาพ, enhancing self-management program, hypertension, health promotion

Abstract

        การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของแคนาดา และแบบจำลองการสร้างเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 62 คนจากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 คน การจัดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจับคู่จาก ระดับความดันโลหิต อายุ ระดับการศึกษา และลักษณะงานที่ทำ ได้จำนวน 31 คู่ แล้วสุ่มให้เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม

        โปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองใช้เวลา 8 สัปดาห์ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1) ในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พร้อมกัน 2) ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 เป็นกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการตนเองทั้ง 7 ด้านสำหรับกลุ่มทดลอง คือ ด้านการลดโซเดียม การลดแอลกอฮอลล์ การลดไขมันแต่เพิ่มผักผลไม้; ด้านการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ด้านการรักษาน้ำหนักของร่างกาย; ด้านการบริหารจัดการความเครียด; และด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาตามลำดับ มีการประเมินก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และ 10 ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2-10 กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองวัดจากค่าความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิค น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว และค่าระดับ HDL-C, LDL-C, Triglycerideในเลือด, การรับรู้ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การรับรู้อุปสรรคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, และ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ independent-t-test

        ผลการวิจัยพบว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค, เส้นรอบวงเอว, และการรับรู้อุปสรรค ก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

         การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานอื่นๆ


The effectiveness of an enhancing self-management program for people with hypertension

        This quasi-experimental study aimed to develop and evaluate a self-management program for people with hypertension based on the Canadian Hypertension Education Program and Pender’s Health Promotion Model. A total of 70 participants were recruited from university personnel, of which 62 met the inclusion criteria. The participants comprised 31 pairs that were matched in terms of blood pressure, age, education, and job characteristics and then randomly assigned to the experimental and control groups.

        The 8-week self-management program included the following activities: 1) Week 1: health education about hypertension in general; 2) Weeks 2, 4, 6, and 8: self-management enhancing activities with the experimental group concerning seven aspects: reducing sodium, fat, and alcohol consumption; increasing fruit and fibre consumption; regular aerobic physical activities; maintaining normal body weight; managing stress; and medication adherence, respectively. The baseline and post-intervention data were collected in the first week and the tenth week. The control group lived their normal lives during the second to tenth weeks. The effects of outcome variables were compared with the baseline in the experimental group of systolic blood pressure, diastolic blood pressure, weight, body mass index, waist circumference, HDL cholesterol, LDL cholesterol, triglycerides, perceived benefits, perceived barriers, and self-efficacy regarding the lifestyle modifications. Data were analyzed using paired t-test and independent t-test.

         The results showed that there would be significant changes in systolic blood pressure, waist circumference, and perceived barriers, and self-efficacy in the experimental group.

         This study has suggested that an enhancing self-management program should be applied to promote self management in other workplace settings.

 


Downloads

How to Cite

1.
จิโรจน์กุล ป, นิปัทธหัตถพงศ์ ส, ลีสุคนธ์ น, พิพัฒน์สมบัติ เ, เร้าเสถียร ณ, ขวัญยืน เ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง ของบุคคลที่มีความดันโลหิตสูง. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2017 Oct. 17 [cited 2024 Apr. 20];28(1):29-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/101614