ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอย และความพึงพอใจในบริการ

Authors

  • ไซนับ ศุภศิริ โรงพยาบาลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
  • สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
  • ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

Keywords:

รูปแบบบริการผู้ป่วยนอก, โรคเบาหวาน, ระยะเวลารอคอย, ความพึงพอใจของผู้ป่วย, outpatient service model, waiting time, patient’s satisfaction

Abstract

        การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจในบริการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี  จำนวน 462 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 254 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีแถวคอยและการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ แบบบันทึกระยะเวลารอคอย นาฬิกาจับเวลา และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติแมนวิทนีย์ยู

        ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองน้อยกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองสูงกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

        การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้นำรูปแบบบริการที่ประยุกต์จากทฤษฎีแถวคอยไปใช้ในแผนกผู้ป่วยนอกในสถานบริการสุขภาพอื่นๆ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มความพึงพอใจ

The effects of a service model for the diabetic out-patient department on waiting time and patients’ satisfaction

        This quasi-experimental research aimed to study the effects of a service model for the Diabetic Out-patient Department on waiting time and patients’ satisfaction.The sample included 462 diabetic patients at the Out-patient Department, Mayo Hospital, Pattani Province.They were divided into two groups: an experimental group (254) and a control group (208). The instruments developed by the researcher comprised a service model for Diabetic Out-patient Department based on Queuing theory with multidisciplinary team participation, the record form of waiting time, stopwatches and the patients’ satisfaction questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and Mann-Whitney U test.

        The results showed that the waiting time of diabetic patients in the experimental group was significantly lower than those in the control group (p < 0.05) and Patients’ satisfaction in the experimental group was significantly higher than those in the control group (p < 0.05).

        This study has suggested that the service model based on Queuing theory could be applied in other Out-patient Department of healthcare settings to decrease waiting time and to increase patients’ satisfaction. 


Downloads

How to Cite

1.
ศุภศิริ ไ, พุทธาพิทักษ์ผล ส, เปลี่ยนบำรุง ด. ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอย และความพึงพอใจในบริการ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2017 Oct. 17 [cited 2024 Nov. 5];28(1):44-56. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/101615