ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

Authors

  • ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล หอผู้ป่วยวิกฤต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุชาต ไชยโรจน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ปัจจัยทำนาย, ภาวะสุขภาพ, ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, predicting factors, health status, coronary artery bypass graft surgery

Abstract

        การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ ความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยทำนายได้แก่ อายุ ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด ค่าการบีบตัวของหัวใจ โรคร่วม ความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่มีต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 18-59 ปี จำนวน 123 คน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกโรคร่วม แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

        ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 58.03, S.D. = 3.90) พฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r = .678, r = .583 และ r = .549 ตามลำดับ) โรคร่วม อายุและระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (r = -.565, r = -.554 และ r = -.537 ตามลำดับ) พฤติกรรมการดูแลตนเอง โรคร่วม ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด อายุ ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดสามารถร่วมทำนายภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 74

        ผลการศึกษานี้ทำให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องโรค พฤติกรรมการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ


Predicting factors of health status among patients after coronary artery bypass graft surgery

        The purposes of this predictive research were to study health status and to examine the predictability of predicting factors. Data were collected from 123 patients with coronary artery bypass graft surgery (males and females) aged between 18 and 59 years were recruited from a multistage random sampling in the cardiac clinic at the Ramathibodi Hospital and Pharmongkutklao Hospital. The instruments were composed of demographic information, comorbidity, knowledge of the disease and operation, self-care behavior, and the short form-36 health survey (SF-36) questionnaire. Data were analyzed using descriptive and stepwise multiple regression statistics.

        Findings indicated that the mean score of the health status in coronary artery bypass graft surgery patients was good (Mean = 58.03, S.D. = 3.90). Self-care behavior, ejection fraction, and knowledge of the disease were positively related to health status in patients with coronary artery bypass graft surgery at the level of .05 (r = .678, r = .583, and r = .549 respectively) and comorbidity, ages, NYHA functional classes were negatively related to health status in patients with coronary artery bypass graft surgery at the level of .05 (r = -.565, r = -.554, r = -.537 respectively) In addition, self-care behavior, comorbidity, NYHA functional classes, ages, ejection fraction, and knowledge of the disease were good predictors with 74% of total variances explained for health status in patients with coronary artery bypass graft.

        The results enhanced understanding of how to develop the knowledge and self-care behavior program among patients with coronary artery bypass graft surgery.


 


Downloads

How to Cite

1.
ชินตาปัญญากุล ท, เอื้อกิจ น, ไชยโรจน์ ส. ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2017 Oct. 17 [cited 2024 Dec. 22];28(1):96-110. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/101622