การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน: มุมมองของผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด และญาติผู้ดูแล

Authors

  • เพ็ญจันทร์ แสนประสาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาวิทยาลัยชินวัตร
  • ดวงกมล วัตราดุลย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • นวรัตน์ สุทธิพงศ์ สถาบันโรคทรวงอก

Keywords:

ข้อมูลดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด, ผู้ดูแล, การวางแผนจำหน่าย, health information, elderly patients with post percutaneous coronary intervention, caregivers, discharge planning

Abstract

       การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI) ในมุมมองของผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดและญาติผู้ดูแล  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และบันทึกเทป ในผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวนจำนวน 10 รายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล 2-3 เดือน และญาติผู้ดูแล จำนวน 5 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดและญาติผู้ดูแลมีความพึงพอใจในการรักษาในโรงพยาบาล และมีประสบการณ์ในการวางแผนจำหน่ายหลังได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (PCI) 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ขาดการมีส่วนร่วมในการประเมินความต้องการวางแผนจำหน่ายของผู้ป่วยและญาติ 2) มีความรู้และความเข้าใจไม่เพียงพอในการดูแลตนเองที่บ้าน 3) รูปแบบการให้ข้อมูลไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยและญาติแต่ละราย 4) ขาดการประเมินผลการให้ความรู้และทักษะในผู้ป่วยและญาติ 5) ขาดการรับฟังความกังวลและขาดการติดตามดูแลที่บ้าน

        ผลการวิจัยที่ได้นำไปเป็นแนวทางให้พยาบาลจัดกลยุทธ์การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน โดยเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติให้มีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนการจำหน่ายและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล 


Discharge planning of patients treated with percutaneous coronary intervention (PCI): perspective of elderly patients with ischemic heart disease and caregivers

        The purpose of this qualitative study was to explore perspective of elderly patients with ischemic heart disease on discharge planning of patients treated with percutaneous coronary intervention (PCI). Data were collected using in-depth interviews and tape recorded in ten elderly patients underwent PCI for 2-3 months and five caregivers.  Qualitative data was analyzed using content analysis.

        Results showed that caregivers and elderly patients underwent PCI were satisfied with the treatment during hospitalization. In addition, they experienced health information for discharge planning of post PCI in five categories: 1) lack of involvement of patients and caregivers and needs assessment of discharge planning, 2) Inadequate knowledge and understanding of self-care at home, 3) inappropriate pattern of health information for individually patients and caregivers 4) lack of evaluation of knowledge and skill of patients and caregivers, and 5) lack of listening of concerns and lack of following homecare.

        The findings from this study can be a guideline for nurses to develop discharging strategies for caregivers and elderly patients with post PCI by preparing patients and caregivers to participate in the discharge planning process and responding to the needs of patients and their caregivers.


 


Downloads

How to Cite

1.
แสนประสาน เ, วัตราดุลย์ ด, สุทธิพงศ์ น. การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน: มุมมองของผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด และญาติผู้ดูแล. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2017 Oct. 17 [cited 2024 Nov. 5];28(1):142-53. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/101628