ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ = Effects of self-management program on self-management behaviors and readmission of patients with heart failure...

Authors

  • วรุณ เพ็ชรัตน์ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รัชนี นามจันทรา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วารินทร์ บินโฮเซ็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • พรวลี ปรปักษ์ขาม นายแพทย์เชี่ยวชาญ แผนกอายุรศาสตร์หัวใจ สถาบันโรคทรวงอก

Keywords:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล, การผ่าตัดลิ้นหัวใจ, ภาวะหัวใจล้มเหลว, self-management program, self-management behaviors, readmission, valvular heart surgery, heart failure

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในการควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลวและอัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวก่อนผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจที่ได้รับการผ่าตัดของแผนกศัลยกรรมหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก จำนวน 30 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองที่สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดของเครียร์ ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องภาวะหัวใจล้มเหลว การฝึกทักษะการจัดการตนเอง และการติดตามการจัดการตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และแบบบันทึกการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย Paired t-test, Wilcoxon Signed Ranks test และ Fisher’s Exact test

           ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวก่อนผ่าตัดมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองในการควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลวหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 และผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่างไม่มีการกลับเข้ารักษาซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว

            ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการตนเองสามารถเพิ่มพฤติกรรมการจัดการตนเองในการควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลว และลดการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้ ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดลิ้นหัวใจที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และควรศึกษาทดสอบโปรแกรมการจัดการตนเองในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้นที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ และมีการติดตามผลต่อเนื่องเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของโปรแกรม และเป็นการขยายองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป

Effects of self-management program on self-management behaviors and  readmission of patients with heart failure after valvular heart surgery

 

           This quasi-experimental one group pre-posttest design aimed to explore the effect of self-management program on self-management behaviors in heart failure control and readmission rates of pateints with heart failure after valvular heart surgery. Thirty samples were purposive selected from those after valvular heart surgery at the Department of Cardiothoracic Surgery, Central Chest Institute of Thailand (CCIT). The sample group received the self-management program developed from Creer’s self-management concept. This program consisted of health education about heart failure, self-management skill training, and self-management monitoring. Data were collected by personal data form, self-management behaviors assessment form, and readmission record form. Data were analysed using descriptive statistics, Paired t-test, Wilcoxon Signed Ranks test, and Fisher’s Exact test.

            The results revealed that the sample group had a significant increase in self-management behaviors’ scores (p < .001) and no one in the sample group was readmitted to the hospital.

            It is concluded that the self-management program could enhance self-management behaviors in heart failure control and reduce readmission caused by heart failure. Application of this program in caring of patients with valvular heart surgery who are at risk of heart failure is suggested. Further replication studies in larger groups with comparison group and longer period to verify the efficacy of the program will extend knowledge in this area.

Downloads

Published

2018-03-25

How to Cite

1.
เพ็ชรัตน์ ว, นามจันทรา ร, บินโฮเซ็น ว, ปรปักษ์ขาม พ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ = Effects of self-management program on self-management behaviors and readmission of patients with heart failure. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2018 Mar. 25 [cited 2024 Nov. 22];28(2):38-51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/116704