ผลของโปรแกรมการพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง = The effect of inhaler use combined with a telephone nursing care program on dyspnea among chronic obstructive pulmonary disease patients

Authors

  • บุญชรัสมิ์ ธันย์ธิติธนากุล นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โปรแกรมการพ่นยา, การให้การพยาบาลทางโทรศัพท์, อาการหายใจลำบาก, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, inhaler use, telephone nursing care program, dyspnea, chronic obstructive pulmonary disease

Abstract

           การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการรักษาด้วยยาพ่นชนิดสูด เข้ารับการบริการที่แผนกคลินิกโรคปอด โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน โดยการจับคู่ตัวแปร เพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรค และ จำนวนครั้งในการกลับเข้ามารักษาซ้ำ กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้ยาพ่นร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินการใช้ยาพ่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบบประเมินอาการหายใจลำบาก และ แบบประเมินขั้นตอนการใช้ยาพ่นอย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที

            ผลการวิจัยคะแนนเฉลี่ยของอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์และต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            จากผลการวิจัยสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อบรรเทาอาการหายใจลำบากและอาจลดการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้

The effect of inhaler use combined with a telephone nursing care program on dyspnea among chronic obstructive pulmonary disease patients

           The purpose of this quasi-experimental study was to test the effect of inhaler use combined with a telephone nursing care program on dyspnea among chronic obstructive pulmonary disease patients. The participants were adult patients with chronic obstructive pulmonary disease who used inhaler medicine and attended an outpatient chest clinic at a public hospital. 22 participants were assigned to each experimental and control group by using matches for sex, age, level of disease severity and frequency of hospital readmission. The control group received usual care, while the experimental group received an intervention program, which consisted of inhaler use combined with a telephone nursing care program. The data was collected by demographic information, Dyspnea Visual Analog Scale (DVAS), and the steps of an inhaler-use questionnaire. Descriptive statistics and independent t-test were used to analyze data.

             The result revealed that the mean scores of Dyspnea Visual Analog Scale after participating in the inhaler use combined with a telephone nursing care program, were significantly lower than before participating in the program. Further, mean scores were significantly lower than in the control group at a significance level of .05.

            The research suggested that this program would be applied among chronic obstructive pulmonary disease patients to relieve dyspnea symptoms and may reduce the needs for hospital readmission.

Downloads

Published

2018-03-25

How to Cite

1.
ธันย์ธิติธนากุล บ, เอื้อกิจ น. ผลของโปรแกรมการพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง = The effect of inhaler use combined with a telephone nursing care program on dyspnea among chronic obstructive pulmonary disease patients. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2018 Mar. 25 [cited 2024 Dec. 22];28(2):97-110. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/116715