ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร = Factors predicting preventive behaviors for coronary artery disease among autonomous university staff in Bangkok

Authors

  • จรีรัตน์ สุทธิพัฒนางกูร นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รัตน์ศิริ ทาโต รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ปัจจัยทำนาย, พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ, บุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, predicting factors, preventive behaviors for coronary artery disease, autonomous university staff

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร จากปัจจัยด้านเพศ อายุ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค โดยใช้กรอบแนวคิดของเบคเกอร์และคณะ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้ต่ออุปสรรค แบบสอบถามปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ

            ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการป้องกันการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสม  (Mean = 63.93, S.D. = 7.54) การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และเพศ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 41.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้โดยเน้นการส่งเสริมมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค ลดอุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และจะต้องมีความเหมาะสมตามเพศของกลุ่มตัวอย่าง

Factors predicting preventive behaviors for coronary artery disease among autonomous university staff in Bangkok

           The purpose of this descriptive predictive study were to examine preventive behaviors for Coronary Artery Disease (CAD) and its predictive factors from sex, age, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, cue to action and perceived self-efficacy. Simple random sampling was used to recruit 325 autonomous university staff. Questionnaires were used to collect personal data, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, cue to action, perceived self-efficacy and preventive behaviors for CAD. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of experts. Date were analyzed using descriptive statistic and stepwise multiple regression.

            The result of this study demonstrated that preventive behaviors for CAD among autonomous university staff in Bangkok was at appropriate level (Mean= 63.93, S.D.= 7.54). In addition, perceived self-efficacy, cue to action, perceived barriers, and being female were significant predictors for behaviors for CAD among autonomous university staff in Bangkok (p< .05). They explained 41.1 percent of the variance preventive behaviors for CAD.

            The research results can be used as a guideline for developing programs to promote preventive behaviors for CAD emphasized by promote cue to action, reduce perceived self-efficacy and programs must be appropriate for the gender of the sample.

Downloads

Published

2018-03-25

How to Cite

1.
สุทธิพัฒนางกูร จ, ทาโต ร. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร = Factors predicting preventive behaviors for coronary artery disease among autonomous university staff in Bangkok. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2018 Mar. 25 [cited 2024 Dec. 22];28(2):111-25. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/116717