ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการสอนแบบสะท้อนคิดเรื่องการพยาบาลเด็กป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจต่อ ความรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล
Keywords:
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, นักศึกษาพยาบาล, การสอนแบบสะท้อนคิด, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การพยาบาลเด็กป่วยสวนหัวใจ, CAI lesson, nursing student, reflective thinking teaching, critical thinking, the child with cardiac catheterizationAbstract
การวิจัยกึ่งทดลอง (แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการสอนแบบสะท้อนคิดเรื่องการพยาบาลเด็กป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจที่มีต่อความรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย จำนวน 118 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และชุดการสอนแบบสะท้อนคิด แบบทดสอบความรู้ก่อน และหลังเรียน แบบสอบถามเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความรู้ภายหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการเรียนรู้ด้วย วิธีสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีคะแนนการ คิดอย่างมีวิจารณญาณภายหลังเรียนในภาพรวมสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และ เมื่อแยกรายด้านของการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกด้าน นักศึกษาพยาบาลมีความเห็นว่า การเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถทำให้จำและเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น รู้สึกอยากเรียน เข้าใจง่าย และสามารถทบทวนการเรียนได้รวดเร็ว ได้ค่าเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ในระดับเห็นด้วย และเห็นด้วยมากที่สุด ควรปรับ ปรุงเสียงอ่านและเพลงประกอบและควรให้นักศึกษาสามารถยืมออกจากห้องสมุดไปศึกษาด้วยตนเองเอง
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ควรมีการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหัวข้ออื่นๆของรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองในนักศึกษา
The Effect of Computer-Assisted Instruction Lessons with Reflective Thinking Teaching in Nursing Care of the Child with Cardiac Catheterization on Knowledge and Critical Thinking among the Nursing Students
The purpose of this quasi-experimental research (one group pretest-posttest design) was to study the effect of Computer-Assisted Instruction (CAI) with reflective thinking teaching on knowledge and critical thinking regarding nursing care of the child with cardiac catheterization among the third year nursing students. The samples were 118 third-year nursing students of the Thai Red Cross College of Nursing. The samples were purposively selected in this study. The instruments consisted of CAI, reflective thinking lesson, knowledge and critical thinking questionnaires regarding nursing care of the child with cardiac catheterization, and student’s opinion toward CAI. Data were analyzed by using descriptive statistic. The pretest and posttest scores were compared using paired t-test.
The findings revealed that the post-test scores of knowledge regarding nursing care of the child with cardiac catheterization were significantly higher than the pretest score (p<.001). Moreover, the post-test scores of critical thinking in overall regarding nursing care of the child with cardiac catheterization were significantly higher than the pretest score (p<.001), and the scores were increased in all aspects. The level of student’s opinions toward learning by using CAI with teaching of reflective thinking was at a high to a highest level. They reported that CAI helped them to remember and to better understand the content as well as encourage them to self learning, and they can review their lesson more quickly. Most of the students totally agreed that they had benefit to combine CAI with their lesson. However, the quality of the sound still should to be improved and the CDs should be available for them to borrow from the library for self learning.
Recommendation: CAI lesson in other topics of nursing care for child and adolescent subjects should be further developed to improve self-directed learning among nursing students.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก