การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในหน่วยวิกฤต : มุมมองของนักศึกษาพยาบาลเฉพาะทางหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขา การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Authors

  • ดวงกมล วัตราดุลย์
  • นิตยา สมบัติแก้ว

Keywords:

ผู้ป่วยวิกฤต, การดูแลระยะสุดท้าย, พยาบาลไอซียู, การวิจัยเชิงคุณภาพ, Critically ill patients, End-of- life care, ICU nurses, Qualitative Study

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใน  หน่วยวิกฤต คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรการพยาบาลวิกฤตที่ศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย จำนวน 32 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกเทปรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลหน่วยวิกฤตรับรู้ลักษณะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็น 3 ลักษณะ คือ 1)   ดูแลโดยขาดแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 2) ดูแลด้วยความคับข้องใจ 3) ดูแลตามความต้องการของ ครอบครัว ส่วนความต้องการของพยาบาลในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมี 4 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริม ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลระยะสุดท้าย 2)การดูแลบนพื้นฐานของความเชื่อทางจิตวิญญาณของผู้ป่วย 3) พัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยทีมสุขภาพมีส่วนร่วม และ 4) พัฒนาศักยภาพพยาบาล ไอซียูในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ข้อเสนอแนะ: การศึกษานี้ได้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อพัฒนาคุณภาพดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในด้านการพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสม รวมทั้งการจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในหน่วยวิกฤต


Improving Nursing Care for Critical Patients

with  Terminal Illness : Perspectives of Critical Nursing 

Students of the Thai Red Cross College of Nursing

 

The purpose of this qualitative study was to explore nurses’ perceptions of end-of-life (EOL)  care in intensive care unit (ICU). Purposive samples of 32 ICU nurses enrolling in critical nursing specialty course at The Thai Red Cross College of Nursing. Data were collected using individual in depth interview and audio recorded. Interview transcripts were analyzed using content analysis.

The results showed that ICU nurses categorized their perceptions of providing end of life care into 3 characters: 1) caring without practical guideline, 2) caring with frustration, and 3) caring according to family caregivers’ needs.  In addition, ICU nurses expressed needs to improve  EOL care in 4 aspects: 1) promoting participation of EOL care among family caregivers, 2) caring based on spiritual beliefs of family caregivers, 3) develop EOL practice guideline based on health team’s participation and 4) improve capacity of EOL care in ICU nurses.  

Suggestions: This study provides important information to improve the quality of end of life    care by developing appropriate practice guideline including establishing curriculum to improve  competency of end of life care for nurse in ICU.

 



Downloads

How to Cite

1.
วัตราดุลย์ ด, สมบัติแก้ว น. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในหน่วยวิกฤต : มุมมองของนักศึกษาพยาบาลเฉพาะทางหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขา การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Apr. 23 [cited 2024 Nov. 5];24(2):44-56. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/17946