ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
Keywords:
โปรแกรมการให้ความรู้, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, การดูแลของมารดา, Educational Program, Congenital Heart Disease, Post Open-Heart Surgery Care, Maternal CareAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรม ของมารดาในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี และได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 25 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 12 คน กลุ่มทดลอง 13 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเรมเป็นกรอบแนวคิด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจากพยาบาลประจำหอผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ แบบเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) โดยมีคะแนนความรู้ในการดูแล บุตรก่อนการทดลองเป็นตัวแปรควบคุม
ผลการศึกษาพบว่า มารดาในกลุ่มทดลอง ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ฯ มีคะแนนพฤติกรรมในการดูแลบุตรเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านสูงกว่ามารดากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( F= 6.698, p< .001)
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการ ช่วยให้มารดามีพฤติกรรมการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ดีขึ้น
The Effect of Educational Program on Maternal Care for
Children with Congenital Heart Disease undergone Post
Open-Heart Surgery
This quasi-experimental study was carried out to evaluate the effect of an educational program on maternal care for children with congenital heart disease post open-heart surgery. The sample consisted of 25 mothers of the newborn to 5 year-old children, who had congenital heart disease and were participated after their children had received open-heart surgery at King Chulalongkorn Memorial Hospital. There were 12 subjects in the control group and 13 subjects in the experimental group. The experimental group was provided an educational program developed by the researcher using Orem’s supportive-educative nursing system as the conceptual framework. The control group received routine nursing care from the registered nurses in the patient ward. Data collection was performed using a questionnaire of maternal care behavior for children with congenital heart disease post open-heart surgery. ANCOVA, with maternal knowledge of care for children post open-heart surgery as the covariate, was used for data analysis.
The result indicated that mothers in the experimental group had higher posttest mean scores on maternal care after discharge to their homes than those in the control group (F= 6.698, p< .001).
The finding suggests that the supportive-educative nursing system should be applied in nursing interventions to help mothers in providing proper care for children with congenital heart disease undergone post open-heart surgery.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก