การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลต่อการ บูรณาการแนวคิดสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1
Keywords:
การสร้างเสริมสุขภาพ, การบูรณาการ, การจัดการเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล, Health promotion, Integration, Teaching and Learning, Nursing studentsAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์พยาบาลในการบูรณาการแนวคิด การสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการเรียนการสอน วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 และการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 154 ราย และอาจารย์พยาบาลผู้สอนจำนวน 11 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาในการ บูรณาการแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 แบบประเมินสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษารับรู้ต่อการนำมโนทัศน์หลักของการสร้างเสริมสุขภาพไปบูรณาการในการเรียนการสอนในระดับดี ส่วนอาจารย์ผู้สอนมีการรับรู้ต่อการนำมโนทัศน์หลักไปบูรณาการในการเรียนการสอน ในระดับปานกลาง มโนทัศน์สร้างเสริมสุขภาพที่อาจารย์และนักศึกษามีการรับรู้ว่านำไปใช้บูรณาการในการเรียนการสอนวิชาการพยาบาล 2 อันดับแรก คือการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูง อายุ และโภชนาการ นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม 5 ด้านในระดับดี (mean= 3.50, SD = 0.34) และนักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะด้านการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพในระดับดี (mean= 3.71, SD = 0.39)
ข้อเสนอแนะการจัดทำหลักสูตรที่มีการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาการพยาบาล ควรมี การเตรียมพร้อมคณะผู้สอนให้มีความเข้าใจอย่างดีในมโนทัศน์การสร้างเสริมสุขภาพ ควรมีแนวคิดและเนื้อหาวิชาของการสร้างเสริมสุขภาพให้ชัดเจนและสอดคล้องโดยตรงกับการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่1
Nursing Students and Nursing Instructors’ Perceptions on the Integration of Health Promotion Concept in Learning and Teaching of the Adult Nursing 1
The purpose of this study was to examine the perceptions of nursing students and nursing instructors concerning the integration of health promotions concepts toward learning and teaching of the Adult Nursing1 and to investigate nursing students’ perceptions of health promotion competency. Samples were 3rd year of 154 nursing students and 11 nursing instructors participated in this study. Data were collected using questionnaires of the integration of health promotion concepts in learning and teaching of the adult nursing1, nursing students’ self-assessment of health promotion competency and focus groups discussion. Data was analyzed using descriptive statistic and content analysis.
The results showed that the student nurses’ perceptions were at a good level on integrating health promotion concept in learning and teaching whereas nursing instructors’ perceptions were at a moderate level. Two most concepts that students and instructors’ perceptions on integrating in adult nursing1 were health promotion and prevention of illness in adult and aging including nutrition. The student nurses’ perceptions of five dimension were at a good level in health promotion competency (mean= 3.50, SD = 0.34). The mean score of nursing students’ competency level was good at health promotion in nursing practice (mean= 3.71, SD = 0.39).
Recommendation: To develop nursing curriculum that integrated with health promotion concepts, nursing instructor team should be prepared for well understanding of health promotion concepts. The clear-cut health promotion concepts and course descriptions should be considered and directly related to the learning and teaching of the Adult nursing1.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก