ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และภาวะโภชนาการของนักเรียนประถมศึกษา

Authors

  • ภัสรา คิรินทร์ภาณุ
  • กำไลรัตน์ เย็นสุจิตร

Keywords:

โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, ภาวะโภชนาการ, Self Efficacy Promoting Program, Eating Behavior, Exercise Behavior, Nutritional Status

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว(Quasi experimental research : Single Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คนโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองประกอบด้วยกิจกรรม “แรลลี่เพื่อสุขภาพ” มี 5 ฐานกิจกรรม ได้แก่ 1)รู้จักและเปลี่ยนแปลงตนเอง 2) บริโภคอาหารอย่างไร...ให้ห่างไกลโรคอ้วน 3) ออกกำลังกายอย่างไร...ให้ห่างไกลโรคอ้วน 4)โรงเรียน…พาเราสุขภาพดี และ 5) คำมั่นสัญญา  หลังจากนั้นมีการพบนักเรียนอีก 3 ครั้งในระยะเวลา 2 เดือน เพื่อติดตามพฤติกรรมที่ได้เขียนคำมั่นสัญญาไว้ในสมุดบันทึก ทบทวนความรู้เรื่องการปฏิบัติตน  และสรุปปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้เครื่องมือประเมินภาวะโภชนาการ แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารและแบบประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทาน  อาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกาย ไม่แตกต่างกับก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (p >.05) ส่วนภาวะโภชนาการพบ   ว่านักเรียนมีระดับโภชนาการเหมือนเดิม 53 คน คิดเป็นร้อยละ 82.82 ดีขึ้น 7 คน คิดเป็นร้อยละ 10.93 และแย่ลง  4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ข้อเสนอแนะ:โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง สามารถช่วยให้นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนบางพฤติกรรมของการรับประทานอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของครอบครัวและโรงเรียนในการที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน และจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้นักเรียนปฏิบัติพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพต่อไป

 

The Effectiveness of a Self Efficacy Promoting Program in

Changing  Eating Behaviors, Exercise Behaviors, and

Nutritional Status among Primary School Students

 

This quasi-experimental research uses a single–group, pretest/-posttest design. It aims to assess the effectiveness of a Self Efficacy Promoting Program in changing eating behaviors, exercise behaviors and nutritional status among elementary school students. The single-group sample consisted of 64 students, who were selected using purposive sampling. The Self Efficacy Promoting Program, “Rally for Health,” is composed of 5 stations: including 1) knowing and changing yourself, 2) how to eat to avoid obesity, 3) how to exercise to avoid obesity, 4) school-based resources for improve health; and 5) the commitment. With all of the stations completed, each student was given three follow-up interventions in  two months. The intervention aimed to follow the progress of behavioral change in the students with reference to the subjects’ diary accounts (commitment), to review knowledge about their practice, and      to summarize the problems / obstacles encountered in changing their behaviors. The data were collected, both before and after program participation, by using a nutritional status assessment tool, questionnaire   of eating and exercise behaviors. The data were analyzed using descriptive statistics and the paired t-test

 The results showed that after participating in the Self Efficacy Promoting Program, the mean scores of eating and exercise behaviors were slightly decreased and non-statistically significant (p >.05). 82.8% of the students had no change in the score of nutritional status, while 10.9% showed improvement and 6.3 % showed poorer nutritional status. 

 Suggestion: Participation in the Self Efficacy Promoting Program induced some students to improve some eating and exercise behaviors. The successful program implementation is additionally dependent on collaboration between students’ families and the school administration to provide the  healthy environment.

 

Downloads

How to Cite

1.
คิรินทร์ภาณุ ภ, เย็นสุจิตร ก. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และภาวะโภชนาการของนักเรียนประถมศึกษา. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Apr. 23 [cited 2024 Nov. 22];24(1):71-83. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/17980