การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโรคหัวใจโดยการจัดการความรู้

Authors

  • เพ็ญจันทร์ แสนประสาน
  • กนกพร แจ่มสมบูรณ์ แจ่มสมบูรณ์

Keywords:

การจัดการความรู้, การพยาบาลโรคหัวใจ, ผู้ประสานงานการดูแล, Knowledge Management, Cardiac Nursing, Case Manager

Abstract

การจัดการความรู้ทางการพยาบาลเป็นกระบวนการของการกำหนด การแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ และการเผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาล เพื่อรักษาคุณค่าของความรู้และช่วยให้เกิดความรู้ในองค์กรอย่างมี ประสิทธิภาพ ตลอดจนการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการสนับสนุนการเรียนรู้และการปฏิบัติในองค์กรต่อไป การจัดการความรู้ในองค์กรต้องมีการพัฒนาองค์ประกอบด้านบุคคล กระบวนการและเทคโนโลยี ควบคู่ไปด้วยเสมอ

การจัดการความรู้ทางการพยาบาลโรคหัวใจ ตามกรอบการจัดการความรู้ของซีร็อกโมเดล ดังนี้ 1)  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างความเข้าใจ 2) สื่อสารให้เข้าใจเรื่องโรคหัวใจ และแนวทางการดูแลโรคหัวใจ 3) กระบวนการและเครื่องมือ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในพื้นที่จริงและเสมือนจริง โดยเทคนิค ชุมชนการเรียนรู้ใน พื้นที่ การเยี่ยมให้กำลังใจ การร่วมสัมมนาและการประชุมโดย Focus Group ร่วมกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพประชาชน เครื่องมือที่ใช้มีทั้ง การเชื่อมโยงความรู้ เพื่อนช่วยเพื่อน การเก็บเกี่ยวความรู้ การสร้างเครือข่ายทางสังคม การบอกเล่าเรื่องราว 4) การฝึกอบรมและการเรียนรู้ อย่างเป็นทางการ และแลกเปลี่ยนความรู้ใน Website (www.thaicvtnurse.org) และวารสารของสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก (ประเทศไทย) 5) การวัดผลใน ระยะเริ่มต้น การติดตามนิเทศ และการรายงานผลการดำเนินงาน 6) การยอมรับและให้กำลังใจ โดยมอบรางวัล   การพัฒนาดีเด่นให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ

ผลจากการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจ คือ เกิดกลุ่มพยาบาลและประชาชนจิตอาสา รวมทั้งผู้  ป่วยโรคหัวใจ เป็นแกนนำจิตอาสาที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการดูแล (Case Manager) ให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ มีความสามารถในการพัฒนาทักษะ ศักยภาพในการวิเคราะห์สถานการณ์ในบริบทของตนเอง และการวางแผนพัฒนาโดยจัดตั้งทีมพยาบาลวิชาชีพ ประสานการดูแลร่วมกับสหวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคหัวใจในโรงพยาบาลและในพื้นที่ ส่งผลให้ผู้ป่วย ประชาชน มีความรู้ เข้าใจ และสามารถจัดการเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการโรคหัวใจ รวมทั้งทำให้ประชาชนส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรคและอุบัติการณ์โรคหัวใจได้เป็นอย่างดี

 


Knowledge Management in Cardiac Nursing : Quality Improvement


Knowledge management in nursing is the process of identification, acquisition, creation, storage and distribution of nursing knowledge. The process aims to bring about the efficacious utilization of knowledge facilitating knowledge development to support learning and to rationalize action. Knowledge management in any organization needs to develop three components, people, processes, and technologies.

According to the Xerox’s model, knowledge management as applied to cardiac nursing quality improvement, has 6 steps: 1) modifying behavior and creating understanding, 2) communication for comprehension of heart disease and practice guidelines, 3) processes and tools by knowledge forum, 4) training and learning through website (www.thaicvtnurse.org) and journal, 5) evaluation by initially monitoring supervising and reporting the performance, and 6) recognition and rewards.

Knowledge management in cardiac nursing quality improvement integrates nurses, cardiac patients, and lay volunteers into a coherent group. This group acts as a case manager to coordinate with cardiac patients to develop their self-care skills and ability to analyze their situation in their own context. In addition, the group also plans and establishes nursing teams to coordinate care with multidisciplinary teams in the hospitals. As a result, patients and people can gain knowledge and understanding of how to manage the early signs/symptoms of heart disease, as well as an awareness of strategies for good health promotion and prevention of heart disease.

 


 


Downloads

How to Cite

1.
แสนประสาน เ, แจ่มสมบูรณ์ กแ. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโรคหัวใจโดยการจัดการความรู้. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Apr. 23 [cited 2024 Nov. 22];24(1):84-95. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/17982