การพัฒนาระบบบริการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ และแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

Authors

  • วลีรัตน์ สุธนนันท์

Keywords:

ระบบบริการพยาบาล, รูปแบบการบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ, แนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, Nursing Service System, Integrated Disease Management Model, Case Management Concept, Hypertensive Patients

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบระบบบริการพยาบาล  โดยใช้รูปแบบบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ และแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและศึกษาผลของการจัดรูปแบบระบบบริการที่พัฒนาขึ้นมา โดยประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก และผลลัพธ์ทางจิตสังคม แบ่งเป็น 2 ระยะ

ในระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จำนวน 7 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพ  จำนวน 11 คน  เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน3 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและบันทึกรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ได้รูปแบบระบบบริการพยาบาล โดยใช้การบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ ร่วม กับมีพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี  รูปแบบประกอบด้วย การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในทีมสหสาขาวิชาชีพ ใช้แนวปฏิบัติที่ทันสมัย กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ และสร้างระบบเครือข่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ในระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ในสถานบริการ 3 แห่ง สุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มทดลอง 100 รายได้รับการดูแลรักษาโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ และแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณีที่พัฒนาในระยะที่1 เป็นเวลา 6 เดือน และกลุ่มควบคุม 100 รายได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่มโดยใช้แบบวัด ผลลัพธ์ทางคลินิก ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที (Independent T-test) และแมนวิทนีย์ยูเทสต์  ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้รูปแบบในการดูแลการบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ ร่วมกับมีพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี  ในกลุ่มทดลอง มีผลลัพธ์ทางคลินิก (ค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด)  ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา พฤติกรรมการดูแลตนเอง ความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิตแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

ข้อเสนอแนะ การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ของการจัดระบบบริการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ และแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี  รูปแบบการดูแลนี้ส่งผลลัพธ์ที่ดีทางคลินิก พฤติกรรมการดูแลตนเอง ความพึงพอใจ  คุณภาพชีวิต และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง


Development of  Nursing Service System by using Integrated Disease Management Model  and Case Management Concept among Patients with Hypertension at King Narai Hospital Contracting Unit of Primary Care, Lop Buri


The qualitative and quasi-experimental study was aimed to develop the nursing service system by using integrated disease management model and case management concept for patients with hypertension and to test the effect of this developed model on clinical outcomes and psycho-social outcome of patients. This research was divided in 2 phases.

The 1st phase, the samples included 7 persons of administrative team of King Narai Hospital CUP, 11 persons of multidisciplinary team, 3 persons of Sub-district Administrative Organization (SAO), and 20 hypertension patients. Collecting data using individually semi-structure interviewed with tape recorded and analyzed data using content analysis. The result showed the model of nursing service developed by using Integrated disease management collaborated with Nurse case managers. The model included: a job description and accountability of multidisciplinary team, updated practice guideline, outcome indicator with network of continuing care and treatment.

The 2nd phase, the samples were patients with hypertension who were treated at medical unit   of out-patient department at three health care settings. 100 samples were randomly assigned to an experimental and 100 samples were control group. The experimental group received treatment and care using Integrated Disease Management Model and Case Management (IDMM and CM) developed in the 1st phase for six month. The control group received the routine care. Clinical outcome, cost of care, self care behaviors, patient satisfaction, and quality of life were collected pretest and posttest of   both groups. Data was analyzed using Independent T-test, and Mann Whitney U Test. The results   showed that after using the IDMM and CM model in post experimental intervention, clinical outcomes (Blood  Pressure, Cholesterol level, Fasting Plasma Glucose), cost of care, self care behaviors, patient satisfaction, and quality of life of experimental group and control groups were significantly different at p<0.05.

Recommendation : This study shed light the evidence-based practice of nursing service system using integrated disease management model and case management concept. The model could improve clinical outcomes, cost of care, self care behaviors, patient satisfaction, and quality of life of patents with hypertension.   


Downloads

How to Cite

1.
สุธนนันท์ ว. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการ และแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Apr. 23 [cited 2024 Nov. 22];24(1):96-109. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/17983