ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Authors

  • เกษรา โคตรภักดี
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Keywords:

เจ็บหน้าอก, ความสามารถในการดูแลตนเอง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, Chest pain, self-care agency, Coronary heart disease

Abstract

การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 110 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอกแผนกอายุกรรมของโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่นโรงพยาบาลอุดรธานี  โรงพยาบาลเลย และโรงพยาบาลสกลนคร  โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้   คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ  แบบสอบถามความเข้มแข็งอดทน แบบสอบถามความรู้ในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง  แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม  และแบบสอบถามความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 11.55, SD = 3.17)  ความรู้ในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งอดทนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแล       อาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง (r = .746, r = .253 และ .202 ตามลำดับ) แต่การรับรู้ภาวะสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง  รวมทั้งการรับรู้ภาวะสุขภาพ  ความเข้มแข็ง         อดทน  ความรู้ในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง  และการสนับสนุนทางสังคม  สามารถร่วมกันทำนาย ความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่าง  ได้ร้อยละ 55.9 

ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้พยาบาลเกิดความเข้าใจในการส่งเสริมความสามารถผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเอง  โดยการเน้นการให้ความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ


Predicting Factors of Chest Pain Self-care Agency 

among Patients with Coronary Heart Disease inUpper Northeast Region


The purposes of this predictive correlational research were to study chest pain self-care agency among patients with coronary heart disease in upper northeast region. Using multi-stage random sampling method, one hundred and ten out-patients with coronary heart disease were recruited from medical outpatient clinics at Khonkhean Hospital, Udonthanee Hospital, Loei Hospital and Sakhonnakorn Hospital. The instrument used for data collection were demographic information, Perceived Health Status  Questionnaire, questionnaire of hardiness, questionnaire of knowledge of chest pain self-care, questionnaire of social support, and questionnaire of chest pain self-care agency among coronary heart disease patients. Descriptive statistics and multiple regression were used to analyze data.

Finding indicated that the mean score of chest pain self-care agency among coronary heart disease patients was at a moderate level (= 11.55, SD = 3.17). Knowledge of chest pain self-care, Social support, and hardiness were positively related to chest pain self-care agency among coronary heart disease patients (r = .746, r = .253 and r = .202, respectively). However, there were no significant relationships between perceived health status and chest pain self-care agency among coronary heart disease patients. In addition, perceived health status, hardiness, knowledge of chest pain self-care and social support were prediction for chest pain self-care agency. Variable accounted for 55.9 % of total variance chest pain self-care agency.

This study result enhanced nurses to understand how to promote chest pain self-care agency among coronary heart disease patients. Nurses should emphasis on patients’ knowledge of self-care to improve self-care agency of chest pain management effectively.


 

Downloads

Published

2014-12-17

How to Cite

1.
โคตรภักดี เ, เอื้อกิจ น. ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลอาการเจ็บหน้าอกด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Dec. 17 [cited 2024 Dec. 22];25(1):32-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/26092