ผลของโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้าน การแข็งตัวของเลือดต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

Authors

  • อรกมล เพ็งกุล
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ
  • ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม

Keywords:

ความร่วมมือในการรับประทานยา, การรับรู้ประโยชน์, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, Medication Adherence, Perceived Benefits, Anticoagulant Medication, Valvular replacement patients

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดจำนวน 46 คน ที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมโรคหัวใจและทรวงอก และโรงพยาบาลตำรวจ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 คน โดยจับคู่ตัวแปรอายุและระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยมีรูปแบบของการให้การพยาบาลทางไกลโดยใช้โทรศัพท์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยา มีระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา และแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา  และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 39-66 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.3) มีระดับการศึกษาต่ำกว่า ปริญญาตรี คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาภายหลังได้รับโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการ  รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และคะแนนเฉลี่ย ความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนเพื่อให้มีการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจมีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นๆ ที่จำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

The Effect of Perceived Benefits of Anticoagulant Medication Program on Medication Adherence in

Valvular Replacement Patients


The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of perceived benefits of anticoagulant medication program on medication adherence in valvular replacement patients. Forty-six post-operative adults with valvular replacement and taking anti-coagulant medication visited the Out- patient Clinic of Heart and Thoracic Surgery, and Police General Hospital. The participants were assigned to experimental and control groups, 23 for each group, and were matched in terms of age and educational level. The control group received standard care, while the experimental group received a telephone intervention regarding the perceived benefits of the anticoagulant medication program. The Telephone Health Nursing was conducted to promote adherence for 8 weeks. Data were colleceted using the questionnaires consisted of demographic information, the medication adherence questionnaire, and the perceived benefits of anticoagulant medication questionnaire. Descriptive statistic and t-test were used to analyze data.

The participants were 39-66 years old, and most of participants (78.3%) finished education level lower than a bachelor’s degree.The mean score of medication adherence, after participating in the perceived benefits of anti-coagulant medication program, was significantly higher than that before participating in the program at the statistical level of .05. The mean score of medication adherence of the experimental group was significantly higher than the control group, by a statistical level of .05.

The findings provided information supporting the efficacy of promoting adherence in patients with valvular replacement taking anti-coagulant medication. In addition, the program will be applied to the study of efficacy in other patients with chronic illness and life-long medication taking. 


Downloads

Published

2014-12-30

How to Cite

1.
เพ็งกุล อ, เอื้อกิจ น, ตันติโกสุม ป. ผลของโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้าน การแข็งตัวของเลือดต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Dec. 30 [cited 2024 Apr. 28];25(2):32-48. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/27655