ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

Authors

  • วริศรา ม่วงช่วง
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Keywords:

ปัจจัยทำนาย, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, ความสามารถในการดูแลตนเอง, Predicting factors, Quality of life, Valvular heart replacement patients, Self-care agency

Abstract

การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของปัจจัยทำนายของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ จำนวน 110 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ศัลยกรรมหัวใจของโรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลราชวิถี โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดคุณภาพชีวิต แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในคำแนะนำด้านสุขภาพ แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพ และแบบประเมินความเข้มแข็งในการมองโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (x̅ = 24.75, SD = 3.01) ความ สามารถในการดูแลตนเอง ความเข้มแข็งในการมองโลกและการมีส่วนร่วมในคำแนะนำด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .463, .392 และ .229 ตามลำดับ) แต่ระยะเวลาภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและความแตกฉานด้านสุขภาพ ไม่มีความ สัมพันธ์ทางสถิติกับคุณภาพชีวิต ความสามารถในการดูแลตนเอง ความเข้มแข็งในการมองโลก และการมีส่วนร่วมในคำแนะนำด้านสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ได้ร้อยละ 28.6 (F [ 94.099 ,6.662  ] = 14.124, p<0.05)  ตัวแปรความสามารถในการดูแลตนเองสามารถทำนายคุณภาพชีวิตมากที่สุด (β = 0.380)

ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยเน้นความสามารถในการดูแลตนเอง ความเข้มแข็งในการมองโลกร่วมกับการมีส่วนร่วม ในคำแนะนำด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี

 

Predicting Factors of Quality of Life in Valvular Heart Replacement Patients


The purposes of this predictive research study aimed to examine the quality of life and to  examine the predictability. One hundred and ten out-patients with valvular heart replacement were  recruited from a multistage random sampling in the cardiac clinic at the Police General Hospital and Rajavithi Hospital. The instruments were composed of demographic information, self-care agency, adherence to health recommendations, health literacy, sense of coherence, and the quality of life questionnaire. Descriptive and hierarchical multiple regression statistics were used to analyze data.

Findings indicated that the mean score of quality of life in valvular heart replacement patients was good (x̅ = 24.75, SD = 3.01). Self-care agency, sense of coherence and adherence to health recommendations were positively related to quality of life in patients with valvular heart replacement at the level of .05 (r =.463, .392 and, .229 respectively). There were no relationships of post-operative period valvular heart replacement and health literacy on quality of life in patients with valvular heart replacement. Self-care agency, sense of coherence and adherence to health recommendations were good predictors for quality of life in patients with valvular heart replacement. Variables accounted for 28.6 % (F [ 94.099 ,6.662  ] = 14.124, p<0.05)  of total variance in quality of life. Self-care agency was the best predictors for quality of life in patients with valvular heart replacement (β = 0.380)

The results would be helpful for developing the promoting program of quality of life focusing on self-care agency, sense of coherence combined with adherence to health recommendations in order to modify health promoting behaviors and maintain good quality of life.


Downloads

Published

2014-12-30

How to Cite

1.
ม่วงช่วง ว, เอื้อกิจ น. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Dec. 30 [cited 2024 Nov. 5];25(2):62-76. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/27671