การศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

Authors

  • สุจิตรา บุญทวี
  • กัญญดา ประจุศิลปะ

Keywords:

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, Quality indicators of Nursing, Acute myocardial infarction

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และอาจารย์พยาบาลในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 21 คน วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยว   ชาญเกี่ยวกับตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อ และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และส่งแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 5 ด้าน 51 ข้อ ประกอบด้วย 1) ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านความปลอดภัย จำนวน 19 ข้อ 2) ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านความทุเลาจากความเจ็บปวด จำนวน 4 ข้อ 3) ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านการตอบสนองความต้อง การทางด้านร่างกายและจิตสังคม จำนวน 9 ข้อ 4) ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ จำนวน 12 ข้อ และ 5) ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านคุณภาพชีวิต จำนวน 7 ข้อ

ข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยที่ได้ใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลนำไปใช้ในการกำหนดแนวปฏิบัติ และพัฒนา ความรู้ ทักษะ ความสามารถพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

 

A Study of Nursing Quality Indicators for Patients with Acute Myocardial Infarction

 

This research study was aimed at investigating the nursing quality indicators for patients with acute myocardial infarction by employing the Delphi method.  The participants were 21 experts and professional caretakers (physicians, nurses, and nursing instructors at the university level) of patients with acute myocardial infarction.  The research procedure was as follows: (1) conducting interviews with professional caretakers with regard to the quality indicators for nurses dealing with patients with acute myocardial infarction; (2) developing a questionnaire for the participants to rate the importance of  the questionnaire items; and (3) determining medians and interquartile ranges for the participants’ confirmation of their responses.  Final medians and interquartile ranges were then calculated for the research findings.

 Five aspects with 51 items were developed for the nursing quality indicators for patients with  acute myocardial infarction:  (1) nursing quality indicators regarding safety (19 items); (2) nursing quality indicators regarding pain relief (4 items); (3) nursing quality indicators regarding responses to physical and psychosocial needs (9 items); (4) nursing quality indicators regarding cardiac rehabilitation  (12 items); and (5) nursing quality indicators regarding quality of life (7 items).

Recommendation : As a contribution to the field of nursing management, the results of this research can be used as a guideline for the development of nurses’ knowledge and skills for taking  care of patients with acute myocardial infarction.


Downloads

Published

2014-12-30

How to Cite

1.
บุญทวี ส, ประจุศิลปะ ก. การศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Dec. 30 [cited 2024 May 9];25(2):90-104. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/27676