ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST-segment elevation

Authors

  • สุดารัตน์ พัฒนโพธิ์
  • อรสา พันธ์ภักดี
  • อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ

Keywords:

ความสามารถของพยาบาล, ความรู้ของพยาบาล, การปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เฉียบพลันชนิด, non ST-Segment Elevation, Nursing agency, Knowledge of nurse, Nursing care

Abstract

    รายงานนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลในการ     ดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST-segment elevation โดยใช้กรอบแนวคิดความสามารถของพยาบาลตามทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 121 ราย กลุ่ม   ตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งเขตภาคเหนือตอนบน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST-segment elevation และแบบ  สอบถามการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST-segment       elevation วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์  ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST- segment elevation อยู่ในระดับน้อย และการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST-segment elevation อยู่ในระดับดี และผลการวิจัยยังพบว่า อายุ และประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด               non ST-segment elevation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( rs = .317, .278 ตามลำดับ) ประสบการณ์     การศึกษาอบรมไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดnonST-segment elevation ( rs = .059) และความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ   ปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST-segment elevation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r = .221) การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา   ความสามารถของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด  non ST-segment elevation

           

              Factors Related to Providing Nursing Care for Patients

                         with non ST-Elevation Myocardial Infarction

Abstract

   This descriptive study was conducted to identify the factors related to providing nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction. The nursing agency concept of Orem’s theory was used as the research framework. One hundred and twenty-one registered nurses who provided care for patients with non ST-elevation myocardial infarction at the general medical ward of a tertiary care hospital in northern Thailand were purposively selected as the participants of this study. The following instruments were used to collect the data: the demographic data assessment form, the knowledge of nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction questionnaire, and the nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction questionnaire. Data were analyzed in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson product-moment correlation and Spearman’s Rank Correlation.

            The findings of this study showed that the respondents had a low level of knowledge of nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction and a high level of providing nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction. In addition, the results revealed that ages and work experience in a general medical ward were positively related to providing nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction at a .01 level of statistical significance (rs = .318, and .278, respectively). Education experience was not related to providing nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction (rs = .059). Knowledge of nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction was positively related to nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction at a .05 level of statistical significance (r = .221).

            The results are useful to develop nursing agency with regard to nursing care for patients with non ST-elevation myocardial infarction.

Downloads

How to Cite

1.
พัฒนโพธิ์ ส, พันธ์ภักดี อ, ศิริพิทยาคุณกิจ อ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด non ST-segment elevation. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Apr. 23 [cited 2024 Nov. 22];24(2):2-15. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/40406