ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

Authors

  • พรพรรณ เทอดสุทธิรณภูมิ โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

Keywords:

ภาวะหัวใจล้มเหลว, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, คุณภาพชีวิต, ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้, heart failure, self-care behaviors, quality of life, supportive educative nursing system

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เข้ามารับบริการที่หน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน  30 ราย และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็ม โดยใช้ระบบสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองและในกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตโรคหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองมีคุณภาพชีวิตดีกว่าและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบของการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว รวมทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองและเพิ่มคุณภาพชีวิต


The Effects of self-Care Promoting Program on Self-Care Behaviors and Quality of Life among Patients with Heart Failure in Prachuapkhirikhan Hospital

This study was a quasi-experimental research. The purpose of the study was to evaluate the effects of self-care promoting program on self-care behaviors and quality of life among patients with heart failure in Prachuapkhirikhan hospital. The control and experimental groups consisted of 30 samples in each group. They were patients with heart failure who received health care service at the outpatient department of Prachuapkhirikhan hospital. The experimental group received the promoting self-care program that was developed based on Orem’s nursing system theory. The experimental group was designed to join the promoting self-care program, while the control group received usual health care. Data of pre and post intervention and control group were collected using self-care questionnaire and quality of life of heart failure questionnaire. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.

The results showed that the quality of life and self-care behaviors of the patients after receiving the program were significantly better than those before attending the program p<.05

These findings could be used to develop a model of care for heart failure patients and patients with other chronic diseases to change their self-care behaviors and improve their quality of life.



Downloads

How to Cite

1.
เทอดสุทธิรณภูมิ พ. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2015 Nov. 18 [cited 2024 Nov. 22];26(1):2-14. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/42512