ภาวะสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด กรณีศึกษา : ตำบลคูบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
Keywords:
ภาวะสุขภาพ, การเข้าถึงบริการสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, Health Status, access to care, cardiovascular risk groupsAbstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ และประสบการณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพโรคหัวใจและหลอดเลือด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ multi-stage random sampling ในกลุ่ม ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จำนวน 214 ราย ที่ตำบลคูบางหลวง จังหวัดปทุมธานี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและแบบสัมภาณ์คำถามปลาบเปิดเกี่ยวกับการใช้บริการสุขภาพเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 71.03 ประมาณร้อยละ 40 เป็นผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างทั้งหญิงและชายมีภาวะสุขภาพคล้ายคลึงกัน เช่น เคยมีอาการเจ็บหน้าอก และบุคคลในครอบครัว (สายตรง) เป็นโรคหัวใจ ส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับนํ้าหนักเกิน และอ้วน และผลการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจของกลุ่มเพศหญิงผิดปกติมากกว่ากลุ่มเพศชาย กลุ่มตัวอย่างทั้งหญิงและชาย ร้อยละ 30.4 มีคะแนนความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้าในระดับรุนแรง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคเรื้อรังเพียงร้อยละ 53.7 ที่เคยมีอาการเจ็บหน้าอกเคยไปใช้บริการสุขภาพที่โรงพยาบาลทั่วไปในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยร้อยละ 28.01 เคยไปใช้บริการตรวจคัดกรองโรคหัวและหลอดเลือดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการไปใช้บริการด้านการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้บริการล่าช้า ไม่ได้รับข้อมูลว่ามีบริการตรวจคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือด และผู้สูงอายุมีข้อจำกัดความสามารถในการเดินทางไปใช้บริการ
จากการศึกษานี้ให้หลักฐานเชิงประจักษ์ว่าประชาชนผู้สูงอายุในชุมชนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในระดับรุนแรง จึงเป็นโอกาสที่บุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถจัดโปรแกรมเพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชนในชุมชนให้ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งควรประเมินและค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในโรค NCD เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจอย่างสมํ่าเสมอ.
Health Status and Health Service Accessibility of Cardiovascular Risk Population, Case Study: Khu Bang Luang Subdistrict, Pathum Thani province
The objectives of this study were to assess health status and study experience in accessing to care of cardiovascular risk groups. Multi-stage random sampling were conducted in people of non communicable disease (NCD) 214 cases at Khu Bang Luang sub district, Prathum Thani province. Data were collected using cardiovascular risk assessment and interviewed open-ended questions of using health care service of cardiovascular disease (CVD healthcare). Quantitative data were analyzed using descriptive statistic, while open-ended questions were analyzed using content analysis
The resulted illustrated that most of sample was female (71.03%). About 40 percentages of them were elderly group. They had the same health status such as having ever had chest pain and having family history of heart disease. Both female and males Sample had BMI in overweight and obese level. The result of abnormal electrocardiogram was found more in female group than in male group. About 30.4 percent of them had cardiovascular risk score in ten years at the severe level. Only 53.7% of the NCD group with chest pain had been checked electrocardiogram in general hospital. Less than a 28.01% of them had been checked up with cardiovascular risk assessment at community hospital. The barrier factors of accessing to CVD healthcare were lack of high technology equipments, long waiting times, and no information of CVD health screening including limited ability to use the services in elderly group.
This study was an evidence for the high risk of CVD in elderly groups which was the challenge for health care personnel to develop capacity building of behavior modification program for people in community. In addition, the assessment of CVD risk in other chronic NCD disease should be detected and monitored to prevent heart disease consistently.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก