ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ

Authors

  • แสงรุ้ง รักอยู่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
  • อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รุ้งระวี นาวีเจริญ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โปรแกรมการสอนแนะ, บาดเจ็บไขสันหลัง, ความสามารถของผู้ดูแล, การคาสายสวนปัสสาวะ, Coaching program, Spinal cord injury, Caregivers’ agency, Retained urinary catheter

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะระหว่างก่อนและหลังการสอนแนะในกลุ่มทดลองและระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่คาสายสวนปัสสาวะ ที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์และอุตรดิตถ์ แบ่งเป็น กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 24 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการสอนแนะการดูแลระบบทางเดินปัสสาวะ คู่มือในการดูแลระบบทางเดินปัสสาวะแบบประเมินความรู้ แบบประเมินทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัย พบว่า  ความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ หลังได้รับการสอนแนะสูงกว่าก่อนได้รับการสอนแนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

พยาบาลควรนำวิธีการสอนแนะการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะไปสร้างโปรแกรมการสอนผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังในเรื่องอื่นๆ เช่น การดูแลกิจวัตรประจำวัน การป้องกันกล้ามเนื้อลีบ หรือข้อติดแข็ง และการป้องกันการเกิดแผลกดทับเพื่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแล


The Effect of Coaching Program on Caregivers’ agency in      Urinary catheterized Care for Spinal Cord Injured Patients


The purpose of this quasi-experimental research was to compare caregivers agency in urinary catheterized care of spinal cord injured patients between before and after receiving coaching program in experimental group and was to compare between caregivers receiving coaching program and those receiving usual care. The study samples were caregivers of spinal cord injured patients with urinary catheterized at the Uttaradit and Petchabun Hospital. The participants were assigned to control and experimental groups, each with 24 participants. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the coaching program. The research instruments included Coaching Program, Urinary catheterized handbook, Knowledge Questionnaire, skill questionnaire, satisfaction questionnaire and caregivers’ agency in urinary catheterized care of spinal cord injured patients    questionnaire.  Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.

The results showed that the caregivers’ agency in urinary catheterized care of spinal cord  injured patients post coaching program was significantly higher than pre intervention (p<0.05). In addition, the caregivers’ agency in urinary catheterized care of spinal cord injured patients in the experimental group was significantly higher than the control group (p<0.05).

Nurses can apply this program to improve caregivers’ agency in other physical care of spinal cord injured patients such as ADL care, muscle atrophy, stiffness of joint and pressure sore prevention in order to enhance their quality of life.



Downloads

How to Cite

1.
รักอยู่ แ, ลือบุญธวัชชัย อ, นาวีเจริญ ร. ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2015 Nov. 18 [cited 2024 Nov. 22];26(1):44-56. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/42520