ผลของโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วต่อระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม

Authors

  • กัญญ์ญาภัค ผาสุข หอผู้ป่วย ไอ.ซี.ยู อายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจ, การเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว, ผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, Duration of Mechanical Ventilation, Early Mobilization, Mechanically Ventilated Patients

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วต่อระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม ที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจ และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ตามระดับ APACHE score การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วที่ผู้วิจัยประยุกต์จากโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วในผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน  คือการประเมินความพร้อม และการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วตามกิจกรรม 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 การเคลื่อนไหวบนเตียง ระดับที่ 2 การเคลื่อนไหวข้างเตียง ระดับที่ 3 การก้าวเดิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบค่าที

 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยกว่าผู้ป่วย  กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)

ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วช่วยลดระยะเวลา ในการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจได้


The Effect of Early Mobilization Program on Duration of Mechanical Ventilation in Critically Ill Medical Patients

This quasi- post experimental research aimed to test the effect of the Early Mobilization Program on duration of mechanical ventilation in critically ill medical patients. The subjects were critically ill medical patients admitted in medical intensive care unit at a tertiary hospital. The subjects were arranged into a control group, and an experimental group. There were 22 subjects in each group.  The groups were matched in terms of severity of illness, primary diagnosis and performance in activities of daily living. The control group received conventional, while the experimental group received three-level activities of Early Mobilization Program. The Program has three levels: (1) bed mobility, (2) bedside mobility, and (3) walking to bedside chair. Statistical techniques used in data analysis were percentage, means, standard deviation, chi-square and t-test statistic.

The result indicated that duration of mechanical ventilation of the experimental group was significantly less than that of the control group at the level of .05.

The finding indicated that Early Mobilization Program can decrease duration of mechanical  ventilation in critically ill medical patients.  

Downloads

How to Cite

1.
ผาสุข ก, เอื้อกิจ น. ผลของโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วต่อระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2015 Nov. 18 [cited 2024 Dec. 22];26(1):57-72. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/42521