ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ

Authors

  • เอมอร แสงศิริ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • ดวงกมล วัตราดุลย์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • สุธานิธิ กาญจนกุล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • ศรีรัตน์ ณัฐธำรงกุล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • สถิตพร นพพลับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • สอาด วงศ์อนันต์นนท์ พยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Keywords:

ความสามารถในการดูแลตนเอง, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, self-care agency, quality of life, patient with coronary artery disease

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 99 คน  ที่มาใช้บริการ คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง และ 3) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย และ Multiple Regression

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 มีคะแนนความสามารถในการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างตํ่า (Mean=76.07, SD=9.84) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 76.83, Mean=23.05, SD=4.89) คะแนนคุณภาพชีวิต รายด้านที่มีคะแนนในระดับดี คือ ด้านครอบครัว และพบว่าระดับการศึกษา การออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ และ คะแนนความสามารถในการดูแลตนเอง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .309 และอำนาจในการทำนายร้อยละ 56 

ผลการศึกษาครั้งนี้ ช่วยให้ผู้ให้บริการทางสุขภาพเข้าใจและเห็นความสำคัญของกิจกรรมการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อนำไปสู่การจัดการระบบการดูแล และพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดต่อไป

 

The factors influencing the self-care agency and quality of life of patients with coronary artery disease

The purpose of this study was to explore the selected factors influencing the self-care agency and quality of life of patients with coronary artery disease (CAD). Ninety-nine patients with CAD  receiving care in the out-patient department at a university hospital were selected using the purposive  sampling method. Data were collected using the questionnaires, which consisted of three parts: 1) personal data, 2) self-care questionnaire for CAD, and 3) quality of life questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regressions.

The results showed that the self-care agency of patients with CAD was at a moderate to  low level at 70.43% (Mean =76.07, S.D. = 9.84). The quality of life of patients with CAD was at a moderate level at 76.83% (Mean = 23.05, S.D. = 4.89). In addition, education level, exercise, and self-care agency were the predictors of quality of life among patients with CAD at a statistically significant level (p<.05). The multiple regression coefficient was .309, and the percentage accounting for the prediction was 56. 

Recommendations: The evidence from this study support health care providers in terms of their ability to focus on improving the self-care capacity of patients with coronary artery disease, including developing health promotion programs for the better quality of life of patients with coronary artery disease. 


Downloads

How to Cite

1.
แสงศิริ เ, วัตราดุลย์ ด, กาญจนกุล ส, ณัฐธำรงกุล ศ, นพพลับ ส, วงศ์อนันต์นนท์ ส. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2015 Nov. 18 [cited 2024 Apr. 28];26(1):104-18. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/42609