ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
Keywords:
การพัฒนาศักยภาพ, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, โรคหัวใจและหลอดเลือด, อาสาสมัครสาธารณสุข, capacity building, participatory Learning, cardiovascular disease, health volunteerAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว (Quasi experimental research: one group pretest – posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็น อสม.ที่ขึ้นทะเบียน ตำบลคูบางหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 50 คน เข้าร่วมโปรแกรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 วัน ประกอบด้วย 1) ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 2) การทำกระบวนการกลุ่มการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ 3)การฝึกทักษะการประเมินระบบหัวใจและหลอดเลือด 4) ฝึกทักษะการกู้ชีวิตเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรู้การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ แบบประเมินการรับรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ แบบสังเกตและประเมินผลการฝึกทักษะการประเมินระบบหัวใจและหลอดเลือด และแบบประเมินการกู้ชีวิตเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจก่อนและหลังเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ Paired t-test ประเมินผลการรับรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ ทักษะการประเมินระบบหัวใจและหลอดเลือด และการกู้ชีวิตเบื้องต้นโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้ารับโปรแกรมการการพัฒนาศักยภาพแบบมีส่วนร่วม อสม. มีความรู้โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) อสม. ทุกรายมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจในระดับดีมาก และสามารถผ่านการประเมินทักษะการประเมินหัวใจและหลอดเลือดและการกู้ชีวิตเบื้องต้นร้อยละ100 ในระดับดี
งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในอสม.ช่วยสร้างเสริมพลังอำนาจของอสม. และมีประสิทธิภาพในการการสร้างศักยภาพ อสม. นอกจากนี้โปรแกรมฯนี้ช่วยสนับสนุนให้ อสม.เป็นส่วนหนึ่งในทีมสุขภาพและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน และสามารถนำไปประยุกต์ เพื่อสร้างพลังอำนาจแก่กลุ่มอสม.ในชุมชนอื่น
Effects of Health Volunteer’s Capacity Building based on Participating Learning Program on Knowledge and Skill of Caring Patients with Cardiovascular Disease and a Risk Group of Cardiovascular Disease
The study of quasi experimental one group pre-test and post-test research design aimed to investigate the effects of training program for health volunteers (HVs) based on concept of participatory learning (PL) for patients with cardiovascular disease (CVD) and a risk group of CVD. Purposive sample of 50 HVs, who registered at Bangkuluang sub-district, Pratumthani Province was selected to participate in training program for 3 days. The PL program consisted of 1) the knowledge of caring patients with CVD. 2) group process of participatory learning of CVD and risk of CVD, 3) skill training of assessment of CVD system, and 4) skill training of basic life support. The data were collected by using evaluation form of knowledge of CVD and perception of caring patients with CVD and risk group of CVD. The observation forms were used to evaluate skill of assessment CVD system and skill of basic life support. Pre and post test of knowledge of CVD were analyzed using paired t-test. Descriptive statistic was used to analyze the perception of caring patients with CVD and risk group of CVD including observation of skill training of CVD assessment and basic life support.
The findings revealed that the level of CVD knowledge of HVs were significantly higher than those prior to participate in the program. All of HVs had mean score of perception of caring patients with CVD and risk group of CVD at an excellent level. 100% of them could pass the evaluation of skill of CVD assessment and basic life support at a good level.
This study indicated that the training program based on the concept of PL could empower and effectively increase the capacity of HVs. This program supported to build capacity of HVs as an integral part of healthcare team and involved them to participate in problem solving of health problems in community. This program should be applied for capacity building HVs in other communities.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก