การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้อง โดยใช้แนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี
Keywords:
ระบบบริการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้อง, แนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี, Nursing Service System, Chronic Kidney Disease Patients receiving Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis, Case management conceptAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้อง และศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมา โดยใช้แนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี รูปแบบการวิจัย เป็นแบบผสม (mixed method) ของการวิจัยเชิงคุณภาพและกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก และคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 พัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้อง กลุ่มตัวอย่างคือ สหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคไต โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช 8 ราย ได้แก่ แพทย์ 2 ราย พยาบาล 5 ราย นักโภชนาการ 1 ราย ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้อง จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและบันทึกเทป วัดผลลัพธ์จากการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้องที่พัฒนาขึ้นใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ได้รูปแบบระบบบริการพยาบาลโดยใช้แนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ประกอบด้วย การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนของทีมสหสาขาวิชาชีพ แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องที่ทันสมัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ การดูแลผู้ป่วย และระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
ระยะที่ 2 ศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตหน้าท้อง โดยใช้รูปแบบแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณีที่พัฒนาจากระยะที่ 1 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้องรายใหม่ทุกราย จำนวน 34 รายที่เข้ารับการรักษาในแผนกล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ให้การดูแลรักษาโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีเป็น ระยะเวลา 6 เดือน เก็บข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบวัดผลลัพธ์ทางคลินิก และคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที (Paired T-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีมีผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ความดันโลหิตตัวบน ตัวล่าง การทำงานของไต และคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ข้อเสนอแนะ การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ของการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้องนี้ส่งผลลัพธ์ที่ดีทางคลินิก และคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ล้างไตทางหน้าท้อง
Development of Nursing Service System among Chronic Kidney Disease Patients Receiving Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis by Using Case Management Concept at King Narai Hospital, Lop Buri
The objectives of this study were to develop the nursing service system for Chronic Kidney Disease (CKD) patients receiving Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) and to investigate the effect of this developed model by using case management (CM) concept. The research design was mixed method of the qualitative and quasi-experimental study, one group pre-posttest design on clinical outcomes and quality of life of patients. This research was divided in 2 phases as:
The 1st phase: Developing the nursing service system for CKD patients receiving CAPD. The samples included multidisciplinary team related to CKD care eight cases including two physicians, ve nurses, and one Nutritionist at King Narai Hospital. Data were collected by using individually semi-structure interviewed with tape recorded, and analyzed by using content analysis. The result showed the developed model of CM nursing service comprised of a clear –cut job description with accountability of multidisciplinary team, updated practice guideline, outcome indicators with network of continuing and holistic care.
The 2nd phase: Investigating the effect of this developed model by using CM concept. The purposive samples were 34 new cases of CKD patients at CAPD unit in King Narai Hospital. The samples were received treatment and care by using model of CM nursing service developed in the first phase for six months. Data of pretest and posttest were collected with clinical outcomes and quality of life. Data was analyzed using descriptive statistics, and paired t-test. The results showed that clinical outcomes such as systolic blood pressure, diastolic blood pressure and renal function including quality of life of posttest improved better than pretest with significantly different. (p< 0.05).
Recommendation: This study demonstrated the evidence based practice of nursing service system using and CM concept. The model could improve clinical outcomes, and quality of life of CKD patients receiving CAPD
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก