ผลการใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองในการเรียนการสอนรายวิชา กระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ

Authors

  • เพ็ญจันทร์ แสนประสาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • วรณิช พัวไพโรจน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

Keywords:

การสร้างความรู้ด้วยตนเอง, กระบวนการพยาบาล, การประเมินภาวะสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

Abstract

การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังกลุ่มเดียวครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทดสอบประสิทธิผลของเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองในวิชา พย. 1102 กระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร ชั้นปีที่ 1 จำนวน 18 คน เข้าร่วมในการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ การเขียนแผนที่ความคิดการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล  และการศึกษาดูงาน วัดผลการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องมือการวิจัย 6 ชุด คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนในรายวิชา 2) แบบวัดความสามารถในการเขียนแผนที่ความคิด 3) แบบประเมินการคัดกรอง ซักประวัติและประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น 4) แบบประเมินผลการสอนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 5) แบบวัดความพึงพอใจในการเรียน 6) แบบประเมินผลการศึกษาดูงานฯ วิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้สถิติเชิงบรรยายและ one-sample Wilcoxon Signed Rank Test

ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์การเรียนเพิ่มขึ้น นักศึกษาสามารถเขียนแผนที่ความคิด และสามารถประเมินการคัดกรองภาวะสุขภาพ มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.05) นักศึกษาประเมินผลการสอนของอาจารย์ ในระดับดีเยี่ยม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองในระดับดีมาก  และนักศึกษามีความคิดเห็นว่าประสบการณ์จริงในการศึกษาดูงานอยู่ในระดับดีเยี่ยม

ผลของการศึกษานี้สามารถนำมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน


Effects of Constructivism Approach of Teaching and Learning on a Course of Nursing Process and Health Assessment

This quasi-experimental of one group pre-post test research was aimed to investigate the achievement of learning on health assessment and nursing process by using the constructivism concept. The subjects of the study were the whole 18 freshmen students in the class of academic year 2013 participating in constructivism in teaching and learning by writing mind maps, performing health assessment and the field study. The learning and teaching course was evaluated by using the measurement tools as: 1) an evaluation form of learning outcomes 2) a performance test for ability to write mind maps 3) a form of screening, health history, and basic assessment 4) a questionnaire of satisfaction the constructivism of teaching and learning, 5) a satisfaction measurement for the course, and 6) an evaluation of the  field study. Data were analyzed using descriptive statistic and one-sample Wilcoxon Signed Rank test.

The findings showed that students had better achievements of learning outcomes. Their ability of writing mind maps and ability of performing health assessment were higher than pre test which was statistically significantly at (p< 0.05). The students’ satisfaction toward the using constructivism approach was at a very good level. The students’ evaluation of the course was at an excellent level and the evaluation of the field study was at a very good level.

This study should be applied for other nursing subjects to enhance nursing students to be active learners and participate in learning and teaching.



Downloads

How to Cite

1.
แสนประสาน เ, พัวไพโรจน์ ว, ชัยพิบาลสฤษดิ์ พ. ผลการใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองในการเรียนการสอนรายวิชา กระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2015 Nov. 18 [cited 2024 Nov. 22];26(1):149-64. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/42613