ผลลัพธ์การจัดการรายกรณีต่อความรู้ในการดูแลตนเองและระยะวันนอนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Authors

  • อังคณา บุญลพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Keywords:

การจัดการรายกรณี, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ระยะวันนอน, ความรู้ในการดูแลตนเอง, case management, chronic obstructive pulmonary disease, length of stay, self-care knowledge

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลการใช้การจัดการรายกรณีในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยวัดผลลัพธ์ความรู้ในการดูแลตนเองและระยะวันนอนเฉลี่ยกับเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) นอนรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 ราย ผู้ป่วย COPD ได้รับการดูแลโดยใช้การจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณี ได้แก่ ให้การดูแลตามแผนการดูแลผู้ป่วย (Clinical pathway) โดยทีมสหสาขา ส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลตนเองโดยการสอนด้วยสื่อการสอน การจัดสิ่งแวดล้อม การชี้แนะและการเยี่ยมบ้าน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรค COPD และระยะวันนอนในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ t-test

ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลตนเองหลังการใช้การจัดการรายกรณีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผู้ป่วย COPD มีระยะวันนอนเฉลี่ย 4.34 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนวันนอนมาตรฐานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่กำหนดไว้ 6 วัน พบว่าระยะวันนอนในโรงพยาบาลสั้นกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

ข้อเสนอแนะ : ผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมให้พยาบาลแสดงบทบาทการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วย โดยการประสานงาน และทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วย COPD ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพจากพยาบาลผู้จัดการรายกรณี และควรมีการติดตามผลลัพธ์ด้านการดูแลอื่นๆ ต่อไป


Outcomes of case management on self-care knowledge and length of stay of chronic obstructive pulmonary disease  (COPD) patients in Medicine Department, Si Sa Ket hospital

The purpose of this quasi-experimental study, one group pre and post-test design aimed  to examine the effects of case managementon self-care knowledge of Chronic Obstructive Pulmonary  Disease (COPD) patients  and to compare length of stay (LOS) of the patients with length of stay standard from the National Health Security Office. 30 COPD patients admitted to Medicine Department  in Si Sa Ket Hospital were purposive sampling. COPD patients were cared by nurse case manager  including the multidisciplinary team based on the clinical pathway. They received support and promotion of self-care by teaching via media; environment management; guiding and home visit. Data were collected before and after intervention by using self-care knowledge for COPD patient questionnaire and length of stay. Data were analyzed using descriptive statistic and t -test.

The results showed that self-care knowledge of the COPD patients significantly increased after using case management (p<.05). The mean score of Length of stay (4.34 days) of the COPD patients was significantly shorter than the standard criteria of 6 days (p<.05).

Recommendation : The nurse administrators should encourage nurses to be case managersfor coordinating and collaborating care with multidisciplinary team. In order to improve the quality of care for COPD patients by nurse managers, other outcomes of care should be further evaluated.

Downloads

How to Cite

1.
บุญลพ อ. ผลลัพธ์การจัดการรายกรณีต่อความรู้ในการดูแลตนเองและระยะวันนอนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2016 Mar. 1 [cited 2024 Nov. 25];26(2):68-80. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/49499