การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์

Authors

  • สุกัญญา โพยนอก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อำภาพร นามวงศ์พรหม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ, evidence-based care, ventilator-associated pneumonia

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม (Randomized Controlled Trial) เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ต่อการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากประชากรเข้าถึงตามเกณฑ์ และสุ่ม (Random assignment) เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบบันทึกการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Chi-square และ Fisher’s Exact test

ผลการวิจัยพบว่า การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถลดการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตได้ โดยในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 16.7) และในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่พบการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่าง กลุ่มแล้วพบว่าการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.026)

งานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย  ผู้บริหารทางการพยาบาลควรให้ความรู้และฝึกอบรมทีมพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญ รวมทั้งควรมีการสร้างระบบสนับสนุนเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 


Ventilator-Associated Pneumonia (VAP) in critically ill patients receiving the evidence-based care

This RCT research aimed to examine the effects of using the evidence-based care on Ventilator-Associated Pneumonia (VAP) in critically ill patients. A purposive sample of 60 patients was recruited from the accessible population for this study and randomly assigned to the experimental and the comparison group, each 30. The experimental group received the guideline developed from the evidence based care. The comparison group received a usual care. Data were collected by using the patient information sheet and VAP recording form. Descriptive Statistics, Chi-Square/ Fisher’s Exact test were used to analyze the data.

The research result meets that, using the evidence-based care could decrease VAP in critical patient. The comparison group received a usual care were diagnosed with VAP while 5 (16.7 percentages), none of the experimental group received the evidence based care were diagnosed with VAP, which significantly different (p=.026).

The findings of this research revealed the benefit of using the evidence-based nursing practice   guideline. Nurse administrator should provide education and training for nursing team, and supportive system which were necessary for the continuity and consistency of practicing the evidence-based care.



Downloads

How to Cite

1.
โพยนอก ส, นามวงศ์พรหม อ, ภักดีวงศ์ น. การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2016 Mar. 1 [cited 2024 Nov. 22];26(2):94-106. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/49502