การบูรณาการแนวคิดสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 : การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์ผู้สอน
Keywords:
แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ, การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล, health promotion concept, integration, teaching and learning, nursing studentsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์พยาบาลในการบรูณาการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 และการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 144 ราย และอาจารย์พยาบาลผู้สอนจำนวน 9 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาในการบรูณาการแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 และแบบประเมินสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลรับรู้ต่อการนำมโนทัศน์หลักของการสร้างเสริมสุขภาพไปบูรณาการในการเรียนการสอนในระดับดี ส่วนอาจารย์ผู้สอนมีการรับรู้ต่อการนำมโนทัศน์ของการสร้างเสริมสุขภาพไปบูรณาการในการสอนในระดับปานกลาง มโนทัศน์การสร้างเสริมสุขภาพที่อาจารย์มีการรับรู้ว่านำไปใช้บูรณาการในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สองอันดับแรก คือ การดูแลรายบุคคลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับนักศึกษามโนทัศน์การสร้างเสริมสุขภาพที่มีการรับรู้ว่านำไปใช้ 2 อันดับแรก คือการประเมินสุขภาพกายและการดูแลรายบุคคล นักศึกษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมในระดับดี (Mean = 3.52, S.D. = 0.21)
งานวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการจัดทำหลักสูตรที่มีการบรูณาการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพโดยกำหนดลักษณะวิชาและวัตถุประสงค์รายวิชาและกำหนดทักษะที่จำเป็นด้านการสร้างเสริมสุขภาพไว้ให้ชัดเจน ควรมีการเตรียมผู้สอนโดยการทบทวนแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและมีการวางแผนการสอนร่วมกันในคณะผู้สอนเพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
The integration of health promotion concept in learning and teaching of the adult and aging nursing practicum 2 : perceptions of nursing students and nursing instructors
The purposes of this study were to examine the perceptions of nursing students and nursing instructors concerning the integration of health promotions concepts toward learning and teaching of the Adult and Aging Nursing Practicum 2 and to investigate nursing students’ perceptions of health promotion competency. The samples were 4th year of 144 nursing students and 9 nursing instructors. Data were collected using questionnaires of the integration of health promotion concepts in learning and teaching of the Adult and Aging Nursing Practicum 2 and nursing students’ self-assessment of health promotion competency. Data was analyzed using descriptive statistic.
The results showed that nursing students’ perceptions of integrating health promotion concepts in their learning were at a good level. Nursing instructors’ perception of integration in learning and teaching were at a moderate level. Nursing instructors reported for two major concepts of health promotion integrated in Adult and Aging Nursing Practicum2 were individualized care and changing behavior. Nursing students perceived two major concepts of health promotion integrated in Adult and Aging Nursing Practicum 2 were health assessment and individualized care. The total mean scores of health promotion competency of nursing students were at a good level (Mean = 3.52, S.D. = 0.21).
Recommendations: To integrate health promotion concepts in the curriculum, there should be course description, course objectives and definition of essential skill of health promotion clearly. Nursing instructors should be prepared by reviewing the concepts of health promotion and planning of teaching together to enhance mutual understanding.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก